Page 53 - kpiebook62008
P. 53
๒๒
๔๐
นี้เป็นไปตามแนวคิดที่ว่า “ในระหว่างสิ่งที่เลวร้ายสองสิ่งที่จำต้องเลือก บุคคลควรเลือกสิ่งที่เลวร้ายน้อยกว่า” ใน
แง่ของกฎหมายภาษีอากร การบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรในแต่ละกรณีอาจจำเป็นต้องพิจารณากฎหมายหลาย
ฉบับทั้งกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรอง กฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้มักเปิดทางเลือกให้แก่
ภาครัฐในการใช้ดุลพินิจเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี แม้ในบรรดาทางเลือกทั้งหลายต่างตอบสนองวัตถุประสงค์
ตามหลักความสัมฤทธิผล แต่ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการที่จำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีน้อยที่สุด
๒.๒.๔.๓ หลักแห่งความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ
๔๗. ภายใต้หลักแห่งความได้สัดส่วน รัฐยังต้องให้ความสำคัญกับการสร้างดุลยภาพระหว่างสิทธิและเสรีภาพ
ของประชาชนที่ถูกจำกัดกับประโยชน์สาธารณะที่เกิดขึ้น หลักการดังกล่าวเรียกว่า “หลักแห่งความได้ส่วนส่วนใน
ความหมายอย่างแคบ” เหตุที่รัฐต้องคำนึงถึงหลักการนี้ด้วยนอกเหนือจากหลักแห่งความสัมฤทธิผลและหลัก
๔๑
แห่งความจำเป็นแล้วเนื่องจากแม้มาตรการทางกฎหมายนั้นจะตอบวัตถุประสงค์ของกฎหมายและเป็นวิธีการที่
กระทบกระเทือนสิทธิของประชาชนน้อยที่สุดแล้ว แต่หากบังคับใช้แล้วเกิดประโยชน์มหาชนน้อยมากและไม่คุ้มกับ
สิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ถูกจำกัด การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยหลักความได้สัดส่วนใน
ความหมายอย่างแคบ ในแง่ของกฎหมายภาษีอากร การบังคับใช้กฎหมายภาษีอากรอาจต้องพิจารณาถึงเทียบเคียง
ระหว่างเงินภาษีโดยที่หักค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการแล้วในฐานะที่เป็นประโยชน์สาธารณะกับสิทธิของผู้เสียภาษีที่
ถูกกระทบกระเทือนว่ามีความสมดุลหรือไม่
๒.๒.๕ การสร้างความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี
๔๘. การประเมินภาษีเป็นการออกคำสั่งทางปกครองประการหนึ่ง จึงเป็นต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของกฎหมาย
ปกครองด้วย การประเมินภาษีจึงจำเป็นต้องมีความโปร่งใส่ทั้งในแง่ของกระบวนการจัดเก็บภาษีและบุคคลผู้ใช้
อำนาจประเมินภาษีเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการจัดเก็บภาษีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ในแง่ของกระบวนการ
จัดเก็บภาษีต้องมีความแน่นอนชัดเจน พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีแสดงความเห็นพร้อมพยานหลักฐาน
ประกอบการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินภาษี ความโปร่งใสในแง่ของกระบวนการประเมินภาษีมีขึ้นเพื่อ
๔๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๖.
๔๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๖๘.