Page 59 - kpiebook62008
P. 59
๒๘
จากสาระสำคัญทั้งสามประการของระบบงบประมาณขาเดียวข้างต้น อาจสรุปได้ว่าระบบงบประมาณขา
เดียวเป็นระบบงบประมาณที่ให้ความสำคัญดับการควบคุมวินัยทางการคลังด้านรายจ่ายเป็นหลัก โดยอยู่บนฐาน
ความคิดที่ว่ารายได้ของรัฐบาลเป็นตัวแปรคงที่ การขอให้พิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
๖๑
ประจำปีจึงมีการเสนองบประมาณเฉพาะงบประมาณรายจ่ายเท่านั้น ขณะที่งบประมาณรายรับนั้นอาจเสนอใน
รูปแบบของเอกสารประกอบงบประมาณเท่านั้น ฝ่ายนิติบัญญัติจึงไม่สามารถเข้าไปควบคุมตรวจสอบงบประมาณ
๖๒
รายรับพร้อมกับงบประมาณรายจ่ายในทุกปีงบประมาณได้ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติอาจควบคุมตรวจสอบผ่าน
กระบวนการตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีแยกออกไปต่างหากจากการพิจารณากฎหมายงบประมาณรายจ่าย เมื่อ
ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีแล้ว ฝ่ายบริหารย่อมมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติ
ดังกล่าวโดยไม่จำต้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติพิจารณาทบทวนอีก ดังตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นพระราชบัญญัติภาษีซึ่งรัฐสภาอนุมัติแล้วแยกต่างหากจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี รัฐบาลสามารถใช้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องให้รัฐสภาพิจารณาอีก ดังนั้น กฎหมาย
เพื่อจัดเก็บภาษีในระบบงบประมาณแบบขาเดียวนี้จึงทั้งมีกำหนดโครงสร้างภาษีและให้อำนาจในจัดเก็บภาษีใน
ฉบับเดียวกันซึ่งมีความแตกต่างจากระบบงบประมาณแบบสองขา
๕๙. ผลกระทบจากการใช้ระบบงบประมาณขาเดียว เนื่องจากระบบงบประมาณขาเดียวให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติ
บัญญัติพิจารณาเฉพาะแต่งบประมาณรายจ่าย ฝ่ายบริหารจึงมีความเสี่ยงที่จะจัดทำงบประมาณโดยไม่เป็นไปตาม
หลักวินัยการเงินการคลังและก่อให้เกิดผลกระทบต่อการควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีและการใช้เงินภาษีดังนี้
๖๐ จักราวดี อนุโยธา, แนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณแผ่นดิน: ศึกษากรณีการอนุมัติ
งบประมาณรายรับและรายจ่าย, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔, หน้า ๕๔.
๖๑ จักราวดี อนุโยธา, แนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณแผ่นดิน: ศึกษากรณีการอนุมัติ
งบประมาณรายรับและรายจ่าย, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔, หน้า ๑๓๐.
๖๒ อานันท์ กระบวนศรี, ปัญหาการควบคุมตรวจสอบประชานิยมในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, นิติศาสตรม
หาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๘, หน้า ๑๓๘.