Page 75 - kpiebook62008
P. 75
๔๔
๙๓
มาตรา ๕๑ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ในส่วนของหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ
หน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีนั่นปรากฏอยู่ในมาตรา ๖๒ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๖๐ ในลักษณะของการรักษาวินัยการเงินการคลังประการหนึ่ง (๓.๒.๑) และการจัดระบบภาษีอย่างเป็นธรรม
อีกประการหนึ่ง (๓.๒.๒) อย่างไรก็ตาม การพิจารณาหน้าที่ของรัฐดังกล่าวยังจำเป็นต้องพิจารณาตามกฎหมาย
ลำดับพระราชบัญญัติประกอบด้วย ทั้งนี้ การบัญญัติหน้าที่ของรัฐดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อหน้าที่และสิทธิของ
ผู้เสียภาษีอย่างมีนัยสำคัญ (๓.๒.๓)
๓.๒.๑ การรักษาวินัยการเงินการคลัง
๘๓. กรอบวินัยการเงินการคลังตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หน้าที่ของรัฐใน
การรักษาวินัยการเงินการคลังนั้นปรากฏอยู่ในมาตรา ๖๒ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งบัญญัติไว้
ว่า
“มาตรา ๖๒ รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมี
เสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ และจัดระบบภาษีให้เกิดความ
เป็นธรรมแก่สังคม
กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกรอบการดำเนินการ
ทางการคลังและงบประมาณของรัฐ การกำหนดวินัยทางการคลังด้านรายได้และรายจ่ายทั้งเงินงบประมาณและเงิน
นอกงบประมาณ การบริหารทรัพย์สินของรัฐและเงินคงคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะ”
บทบัญญัติข้างต้นเป็นการกำหนดหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการรักษาวินัยการเงินการคลังในภาพรวมโดย
จำต้องรักษาวินัยการเงินการคลังด้วยความเคร่งครัด โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการรักษาวินัยการเงินการ
คลังไว้เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นของฐานะทางการเงินการคลัง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรายละเอียด
เกี่ยวกับการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐนั้นจำต้องพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
๙๓ มาตรา ๕๑ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐตามหมวดนี้ ถ้าการนั้นเป็น
การทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวม
ตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กฎหมายบัญญัติ