Page 78 - kpiebook62008
P. 78

๔๗

               รายได้ รายจ่าย การจัดให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและการบริหารทรัพย์สินของรัฐ การก่อหนี้และการบริหารหนี้ เงินนอก

               งบประมาณและทุนหมุนเวียน และการคลังท้องถิ่น เป็นต้น




               ๘๘.  หลักความชอบด้วยกฎหมายภาษีตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ วิธีการ

               รักษาวินัยการเงินการคลังที่มีผลกระทบต่อหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีมากที่สุดคือการนำหลักความชอบด้วย
               กฎหมายภาษีมาบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.

               ๒๕๖๑ สำหรับบทบัญญัติแรก มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้

               กำหนดให้การจัดเก็บภาษีอากรจะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และการยกเว้นหรือการลดภาษี

               อากรใด จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้อำนาจจัดเก็บภาษีอากรนั้น โดยจำต้องพิจารณาความ

               เป็นธรรม ความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งการพัฒนาและสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทาง

               เศรษฐกิจและสังคม บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบังคับแก่รัฐในการรักษาวินัยการเงินการคลังเกี่ยวกับการจัดเก็บ

               ภาษีว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยก่อนเนื่องจากการจัดเก็บภาษี
               เป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินของผู้เสียภาษี นอกจากนี้ มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการ

               คลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ยังกำหนดให้การจะลดหรือยกเว้นภาษี ฝ่ายบริหารจะกระทำได้เฉพาะกรณีที่

               พระราชบัญญัติได้ให้อำนาจไว้และกระทำได้ไม่เกินกรอบของอำนาจดังกล่าว วิธีการรักษาวินัยการเงินการคลัง

               ดังกล่าวจึงเป็นหลักประกันให้แก่ผู้เสียภาษีว่าสิทธิของผู้เสียภาษีจะมิได้ถูกจำกัดตามอำเภอใจ แต่ถูกจำกัดโดยผ่าน

               ความยินยอมของผู้แทนของผู้เสียภาษีเอง




                       ๓.๒.๒ หน้าที่ของรัฐในการจัดระบบภาษีอย่างเป็นธรรม


               ๘๙.  การจัดระบบภาษีอย่างเป็นธรรม: การนำหลักความเสมอภาคและหลักความเป็นธรรมมาบัญญัติให้

               เป็นหน้าที่ของรัฐ การจัดระบบภาษีอย่างเป็นธรรมนั้นสอดคล้องกับหลักความเสมอภาคทางภาษีซึ่งได้กล่าวไปแล้ว

               ในหัวข้อ (๒.๒.๒) และหลักการบริหารภาษีอากรที่ดีซึ่งได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ (๒.๒.๓.๑) ตามหลักความเสมอ

               ภาคทางภาษีและหลักการบริหารภาษีอากรที่ดีนั้น ระบบภาษีอย่างเป็นธรรมจำต้องพิจารณาถึงความสามารถใน
               การเสียภาษีของบุคคลเป็นสำคัญ กล่าวคือ บุคคลที่มีความสามารถในการเสียภาษีเท่ากัน จำต้องมีภาระภาษี

               เท่ากัน ในขณะที่บุคคลที่มีความสามารถในการเสียภาษีต่างกัน จำต้องมีภาระภาษีแตกต่างกัน การจัดระบบภาษี

               อย่างเป็นธรรมจึงส่งผลต่อหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีอย่างยิ่งเนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการจำกัดสิทธิของผู้เสีย

               ภาษีอย่างเหมาะสม มิได้พิจารณาจัดเก็บภาษีจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ แต่พิจารณาความสามารถในการ
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83