Page 93 - kpiebook62008
P. 93

๖๒

               ปวงชนชาวไทย นอกจากสิทธิและเสรีภาพที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตาม

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังครอบคลุมไปถึงสิทธิและเสรีภาพที่ยังไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ โดยให้ถือว่า

               เป็นสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญด้วย สิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิหนึ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนด

               ไว้เป็นการเฉพาะ (๓.๔.๒.๑) รัฐธรรมนูญจึงให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิดังกล่าว การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินจึง

               ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรับรองความชอบด้วยกฎหมายภาษี

               (๓.๔.๒.๒) อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดการตราพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีไว้เป็นการเฉพาะด้วย
               (๓.๔.๒.๓)





                              ๓.๔.๒.๑ ความหมายและความสำคัญของสิทธิในทรัพย์สิน


               ๑๑๔.  สิทธิในทรัพย์สินตามรัฐธรรมนูญ สิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิหนึ่งที่มีการบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๗ แห่ง
                                    ๑๑๕
               รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยบัญญัติรวมไว้กับสิทธิในการสืบมรดก มาตรา ๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
               ประกอบไปด้วยเจ็ดวรรค วรรคแรกของมาตรา ๓๗ ให้การรับรองสิทธิในทรัพย์สิน ส่วนวรรคสองได้กำหนดให้




               ๑๑๕  มาตรา ๓๗  บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก

                       ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
                       การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็น

               สาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่า

               ทดแทนที่เป็นธรรม ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน โดยคำนึงถึง
               ประโยชน์สาธารณะผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืนนั้น

                       การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำเพียงเท่าที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการที่บัญญัติไว้ในวรรคสาม เว้นแต่เป็นการเวนคืนเพื่อ

               นำอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่กฎหมายบัญญัติ
                       กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ให้

               ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้ประโยชน์เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือมีอสังหาริมทรัพย์เหลือจากการใช้ประโยชน์ และเจ้าของเดิม

               หรือทายาทประสงค์จะได้คืน ให้คืนแก่เจ้าของเดิมหรือทายาท
                       ระยะเวลาการขอคืนและการคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนที่มิได้ใช้ประโยชน์ หรือที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ให้แก่เจ้า

               ของเดิมหรือทายาท และการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

                       การตรากฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยระบุเจาะจงอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม
               ความจำเป็น มิให้ถือว่าเป็นการขัดต่อมาตรา ๒๖ วรรคสอง
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98