Page 96 - kpiebook62008
P. 96
๖๕
๑๑๘. การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินจำเป็นต้องกระทำโดยการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติ เนื่องจาก
กฎหมายที่จะจำกัดสิทธิของประชาชนได้จำเป็นต้องได้ความเห็นชอบจากผู้แทนของประชาชนก่อนซึ่งเป็น
ลักษณะร่วมกันของหลักนิติรัฐและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย องค์กรนิติบัญญัติเป็นองค์ที่มีหน้าที่ตรา
พระราชบัญญัติ โดยเฉพาะในกรณีที่พระราชบัญญัติมีการจำกัดสิทธิของประชาชน องค์นิติบัญญัติจึงต้องพิจารณา
๑๑๘
เอง ไม่อาจมอบอำนาจให้องค์อื่นพิจารณาได้ ทั้งนี้ วิธีการในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเพื่อจัดเก็บภาษีขึ้นมา
อยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๔ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เนื่องจากเป็น
พระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีดังกล่าว
จะต้องเสนอต่อ “ผู้แทนราษฎร” ก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายนั้นได้ ดังนั้นการเสนอร่างกฎหมายจึงต้องมีการ
คัดกรองผ่าน “ผู้แทน” ของปวงชนชาวไทยก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักความยินยอมทางภาษี ๑๑๙ ซึ่งเป็น
รากฐานของหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี
๑๑๙. การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม หลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญเป็นหลักการมี
วัตถุประสงค์สำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หลักนิติธรรมจึงจำเป็นต้องยึดถือความเป็น
๑๒๐
กฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้กฎหมายในระดับที่ต่ำกว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ นอกจากนี้
๑๒๑
หลักนิติธรรมยังให้ความสำคัญกับหลักความเสมอภาคกันทางกฎหมาย ดังนั้นการตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิใน
ทรัพย์สินจำเป็นต้องอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญและใช้บังคับด้วยความเสมอภาคกัน
๑๒๐. การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินต้องไม่เพิ่มภาระหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะ
กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินจะต้องมีความเหมาะสมตาม
วัตถุประสงค์ของการจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน จะต้องจำกัดสิทธิในทรัพย์สินเท่าที่จำเป็น และผลกระทบจากการ
๑๑๘ บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, พิมพ์ครั้งที่ ๕ (กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์วิญญูชน ,๒๕๕๘), หน้า ๒๓๘.
๑๑๙ อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป, กฎหมายการคลัง, หน้า ๙๕.
๑๒๐ เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, หน้า ๑๒๕.
๑๒๑ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๖.