Page 98 - kpiebook62008
P. 98
๖๗
การกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงหน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยการเงินการคลังดังที่เสนอไป
แล้วในหัวข้อ (๓.๒.๑)
๓.๔.๒.๓ การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีโดยฝ่ายบริหาร: การตราพระราช
กำหนดภาษี
๑๒๔. ประเภทของพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แม้ตาม
หลักการแบ่งแยกอำนาจ หน้าที่ในการตรากฎหมายเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่การตราพระราชบัญญัติ
โดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้นมีมีกระบวนการซับซ้อน และในบางกรณี การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จำเป็นมีการแก้ไขอย่าง
รวดเร็วเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ จึงจำเป็นต้องให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารในการตรากฎหมายในรูปของพระราช
กำหนด การตราพระราชกำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แบ่งออกเป็น ๒ กรณี
อันได้แก่ การตราพระราชกำหนดกรณีทั่วไปตามมาตรา ๑๗๒ และการตราพระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากร
หรือเงินตราตามมาตรา ๑๗๔
๑๒๕. เงื่อนไขการตราพระราชกำหนดกรณีทั่วไป การตราพระราชกำหนดกรณีทั่วไปถูกกำหนดไว้ในมาตรา
๑๗๒ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า
“ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง
ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้
บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
การตราพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มี
ความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่
ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการ
ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดโดยเร็วถ้าสภา
ผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติหรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วย