Page 102 - kpiebook62008
P. 102
๗๑
ศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเหตุอื่นใด จะ
กระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับ
บุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือ
ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อม
มีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง
สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม”
จากบทบัญญัติข้างต้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคไว้ทั้งหมดห้าวรรค
ในวรรคแรก รัฐธรรมนูญกำหนดรับรองหลักความเสมอภาคไว้เป็นการทั่วไป วรรคที่สองเป็นการกำหนดเฉพาะลง
ไปในเรื่องของความเสมอภาคทางเพศ ส่วนวรรคที่สามเป็นการกำหนดเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมพร้อม
ยกตัวอย่างการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจากสาเหตุต่าง ๆ ในขณะที่วรรคที่สี่เป็นการกำหนดมาตรการที่ไม่ให้ถือ
ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และวรรคท้ายเป็นการกำหนดความเสมอภาคที่มีต่อบุคคลผู้เป็นทหาร
ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ
๑๒๙. สภาพบังคับของหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญในการตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี
การตรากฎหมายภาษีทั้งในกรณีของการตราพระราชบัญญัติ และการตราพระราชกำหนดดังปรากฏในหัวข้อ
(๓.๔.๒) ต่างต้องอยู่ภายใต้หลักความเสมอภาค หากการตรากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อหลักความเสมอภาค
กฎหมายฉบับนั้นย่อมเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามมาตรา ๖ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๖๐ ทั้งนี้ ในการตรวจสอบความชอบด้วยหลักความเสมอภาคของกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของศาล
รัฐธรรมนูญซึ่งจะกล่าวต่อไปในหัวข้อ (๓.๔.๔) นอกจากสภาพบังคับทางรัฐธรรมนูญแล้ว หลักความเสมอภาคยัง
ปรากฏอยู่ในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยกำหนดให้การตรา
กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจำต้องพิจารณาถึงหลักความเสมอภาคด้วย ดังนั้น การตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีโดยที่
ไม่พิจารณาถึงหลักความเสมอภาคจึงเป็นการกระทำผิดวินัยการเงินการคลังและอาจมีลงโทษทางปกครองให้