Page 107 - kpiebook62008
P. 107

๗๖

               ของภาษีอากรตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันนี้ได้แก่ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้

               ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และภาษีการรับมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. ๒๕๕๘




               ๑๓๘.  ประมวลรัษฎากรได้ให้อำนาจในการตรากฎหมายลำดับรองเอาไว้ คือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง

               ประกาศกระทรวง ระเบียบกระทรวง คำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร คำสั่งกรมสรรพากร และประกาศ

               อธิบดีกรมสรรพากรตามลำดับ ในการจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายลำดับรองข้างต้นนั้น มีหลักการและเหตุผล ดังนี้





               ๑๓๙.  หลักการและเหตุผลประการแรก เพื่อจัดชั้นความสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความใน

               ประมวลรัษฎากรให้ชัดแจ้ง  อาทิ พระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในประมวลรัษฎากรเป็น
                                      ๑๒๘
               กฎหมายลำดับรองที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผู้มีหน้าที่รักษาการตามประมวลรัษฎากรเสนอเพื่อให้

               คณะรัฐมนตรีพิจารณาและให้ความเห็นชอบ และผ่านการตรวจพิจารณาโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
               จึงนำทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรม

               ราชโองการ แล้วจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป กฎกระทรวงซึ่งเป็น

               กฎหมายลำดับรองที่ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผู้รักษาการตามประมวลรัษฎากรโดยความเห็นชอบ

               ของคณะรัฐมนตรี แล้วจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย จะเห็น

               ได้ว่าการตราพระราชกฤษฎีกานั้นมีขั้นตอนในการร่างและบังคับใช้เป็นกฎหมายที่ซับซ้อนกว่ากฎกระทรวง ย่อมมี

               ความสำคัญกว่าการออกกฎกระทรวง จึงชี้ให้เห็นถึงนัยของกฎหมายลำดับรองว่ามีลำดับชั้นความสำคัญไม่เท่า

               เทียมกัน





               ๑๔๐.  ตัวอย่าง พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
               เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ ๑๔๕) พ.ศ. ๒๕๒๗ ออกตามความใน

               มาตรา ๖๕ ทวิ (๒) ย่อมพิจารณาได้ว่ามีความสำคัญเหนือกว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตาม

               ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ออกตามความในมาตรา ๖๕ ทวิ (๙) แม้ทั้ง

               สองเงื่อนไขจะเป็นเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา ๖๕ ทวิ อย่างไรก็ดี ใน




               ๑๒๘  สุเทพ พงษ์พิทักษ์, “๑๐๐ ถาม-ตอบ ความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร,” ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๕, หน้า ๙.
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112