Page 110 - kpiebook62008
P. 110
๗๙
ที่เกี่ยวข้องขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีการประกาศใช้กฎหมายแทนอย่างฉุกเฉินเพื่อให้ทันการยื่นแบบแสดง
รายการภาษีเงินได้ในปีภาษี ๒๕๕๖
๑๔๖. นอกจากการตรากฎหมายลำดับรองอาศัยอำนาจตามความในประมวลรัษฎากรเพื่อกำหนดรายละเอียด
ต่าง ๆ อันเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรมสรรพากรอาจกำหนดแนวปฏิบัติภายในขององค์กร ดังจะ
อธิบายต่อไปใน (๓.๕.๑.๑) และดำเนินการให้บริการทางกฎหมาย รวมทั้งตอบข้อหารือทางภาษีอากรแก่ผู้เสียภาษี
อากร ดังจะอธิบายต่อไปใน (๓..๕.๑.๒)
๓.๕.๑.๑ การกำหนดแนวปฏิบัติภายในของหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากร
๑๔๗. ประมวลรัษฎากรให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการออกคำสั่งกรมสรรพากรในหลายกรณี อาทิ
๑๓๔
มาตรา ๓ เตรส กรณีออกคำสั่งกรมสรรพากรให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ ซึ่งไม่มีหน้าที่
หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามลักษณะ ๒ หักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อประโยชน์ในการบริหารการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดย
อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
๔๐ แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ และมีการแก้ไข
เพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ฉบับอื่น ๆ ภายหลัง ซึ่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘ฯ ดังกล่าว
เป็นคำสั่งกรมสรรพากรที่มีความสำคัญยิ่งในเรื่องภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
มาตรา ๑๑ กรณีออกคำสั่งกรมสรรพากรกำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากร
ตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๖๕ วรรคสอง กรณีออกคำสั่งกรมสรรพากรเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการคำนวณรายได้และ
รายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยใช้เกณฑ์สิทธิภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.
๑/๒๕๒๘ เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่
๑๓๔ มาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยให้ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงิน
ได้เอาไว้ ณ ที่จ่ายนอกจากที่กำหนดไว้แล้วในแต่ละประเภทภาษี โดยมีการออกกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) เพื่อ
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย