Page 114 - kpiebook62008
P. 114
๘๓
เฉพาะ และอากรแสตมป์ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๐๐ แต่จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
พบว่า บริษัทฯ ได้ยื่นหนังสือแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้นตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการควบเข้ากัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ซึ่งเกินกำหนดเวลา ๓๐ วันนับแต่
วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโอนกิจการ โดยบริษัทฯ ให้เหตุผลประกอบการอุทธรณ์ว่า การยื่นหนังสือล่าช้า
เนื่องจากไม่รู้ระเบียบปฏิบัติของกรมสรรพากร และ ไม่มีเจตนาใด ๆ แอบแฝงที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากรทุก
ประเภท กรมสรรพากรมีคำสั่งไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการยื่นแบบแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จึงอุทธรณ์คำสั่ง
๑๓๖
ทางปกครองที่กรมสรรพากรไม่อนุมัติดังกล่าว
๑๕๖. นอกจากนี้ การตอบข้อหารือของกรมสรรพากรต้องเป็นความลับตามมาตรา ๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร ที่
วางหลักไว้ว่า เจ้าพนักงานผู้ใดโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้ ได้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่
เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้นำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือยังให้ทราบกันไปโดยวิธีใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วย
กฎหมาย ซึ่งในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ของผู้เสียภาษี หาได้มี
กฎหมายใดให้อำนาจในการกระทำการดังกล่าวไว้ไม่
๓.๕.๒ การสร้างความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี
๑๕๗. เมื่อพิจารณามาตรา ๑๔ แห่งประมวลรัษฎากร อาจเห็นได้ว่า นิยามของภาษีอากรประเมินนั้น คือ ภาษี
อากรที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็น ภาษีอากรประเมิน ซึ่งจะต้องมีการกำหนดจำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีอากร
และในอัตราที่กำหนดไว้เสียก่อน จึงจะชำระภาษีตามจำนวนที่กำหนดนั้นได้ ทั้งนี้ การประเมินภาษีอากรมี ๒
ประเภท อันได้แก่การประเมินด้วยตนเอง และการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
๑๕๘. การประเมินด้วยตนเอง (Self-Assessment) คือ การที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการตามแบบที่
อธิบดีประกาศกำหนดในประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การกำหนดแบบแสดงรายการภาษี ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม
๑๓๖ หนังสือตอบข้อหารือเลขที่ ๐๗๐๒/๕๐๕๐ เรื่อง ผลการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีไม่อนุมัติให้ขยายเวลาการยื่น
แบบแจ้งรายชื่อผู้ถือหุ้น กรณีการควบกิจการเข้าด้วยกัน ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๑