Page 116 - kpiebook62008
P. 116
๘๕
ของอากรแสตมป์มิได้จัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน จึงต้องมีเจ้าพนักงานอื่นเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับความ
ถูกต้องในการเสียอากรแสตมป์ คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ และนายตรวจตามหมวด ๖ แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา
๑๐๓
๑๖๑. การหักภาษี ณ ที่จ่าย ในส่วนของภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย มาตรา ๕๐ แห่งประมวลรัษฎากรยังกำหนด
หน้าที่ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินทั้ง ๘ ประเภทตามที่กำหนดไว้
ในมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการและ
อัตราที่ให้หักไว้ทั้งในมาตรา ๕๐ แห่งประมวลรัษฎากร รวมทั้งหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่ายตามมาตรา ๕๐ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งความแก่บุคคล ห้าง
หุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ให้ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) (๒) (๓) (๔) และ (๗)
แห่งประมวลรัษฎากร หรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่อง เพื่อตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ตามที่
เห็นสมควร และผู้ได้รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ ตาม
มาตรา ๕๑ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษตามมาตรา ๓๕ แห่งประมวลรัษฎากร
๑๖๒. ยิ่งไปกว่านั้น มาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากรให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในกรณีจำเป็นเพื่อ
ประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีในการออกคำสั่งกำหนดรายละเอียดและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดผู้จ่ายเงินได้พึง
ประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหมวด ๓ ลักษณะ ๒ แห่งประมวล
รัษฎากรให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายปรากฏรายละเอียดตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘ เรื่อง สั่งให้ผู้
จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยให้นำมาตรา ๕๒
มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๐ และมาตรา ๖๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง กฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) และที่แก้ไข
เพิ่มเติม
๑๖๓. การประเมินภาษีอากรเป็นอำนาจที่สำคัญของผู้มีอำนาจกระทำการดังกล่าวเนื่องจากมีผลกระทบต่อสิทธิ
เสรีภาพในทรัพย์สินของราษฎร ดังนั้น การใช้อำนาจดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข กระบวนการใช้อำนาจและ