Page 118 - kpiebook62008
P. 118
๘๗
บังคับกับกรณีที่ประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ ปรากฏคำพิพากษาที่แสดงให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์ดังกล่าว อาทิ
๑๖๖. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๙๔๙/๒๕๔๖ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัย หนังสือแจ้งการประเมินภาษีของเจ้า
พนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นคำสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธี
ปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา ๓๗ จึงต้องมีเหตุผล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและ
ข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ หากไม่มีย่อมขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา ๓๗ หนังสือแจ้งการประเมินภาษีและคำ
วินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงรายละเอียดและเหตุผลว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องอย่างไร จึงขัดต่อ
มาตรา ๓๗ แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๙ ถึง ๒๑ จะได้กำหนดวิธีการประเมินภาษีอากรไว้โดยมิได้บังคับว่า
จะต้องให้เหตุผลไว้ก็ตาม แต่เมื่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ มาตรา ๓๗ วางหลักเกณฑ์ใน
การออกคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือว่าต้องมีเหตุผลแล้วหากมีกฎหมายใดที่บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติฯ ซึ่งรวมถึง
บทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๙ ถึง ๒๑ และมาตรา 34 จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๙ ถึง ๒๑ และมาตรา ๓๔ เป็นบท
กฎหมายเฉพาะ แต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่
กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ มาตรา ๓๗ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่แล้ว ถือว่าไม่
ชอบด้วยกฎหมาย
๑๖๗. สถานะทางกฎหมายของการประเมินภาษี การประเมินภาษีอากรนั้น ถือเป็นคำสั่งทางปกครองตาม
มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยมีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
อ้างอิงอันได้แก่
๑๖๘. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๗๓๐/๒๕๔๘ โจทก์ฟ้องเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เนื่องจาก
เจ้าพนักงานประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์ โดยโจทก์ฟ้องว่าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยทั้ง
๒ ฉบับ ไม่ได้แสดงข้อกล่าวหาโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง เนื่องจากภาษีซื้อ
ที่นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา ๘๒/๕ กรณีใด ตามที่กำหนดไว้ใน (๑) ถึง (๒) จึงเป็นการกล่าวหาอย่าง
เลื่อนลอย ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่สามารถอุทธรณ์หรือฟ้องคดีได้โดยถูกต้อง และบรรยายฟ้องในประเด็นอื่นอีก