Page 117 - kpiebook62008
P. 117
๘๖
ขอบเขตอำนาจที่กฎหมาย กล่าวคือ ประมวลรัษฎากรได้ให้ไว้ เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิของประชาชนเพื่อให้ได้รับ
ความคุ้มครองจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของเจ้าพนักงานประเมิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความคุ้มครองสิทธิอื่น ๆ
สำหรับผู้เสียภาษีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงาน คือ เจ้าพนักงานต้องไม่มีส่วนได้เสียใด ๆ ในการประเมิน ดังจะ
อธิบายในข้อ (๓.๕.๒.๑) การไม่มีส่วนได้เสียของเจ้าพนักงานประเมิน และเมื่อผู้เสียภาษีถูกเจ้าพนักงานประเมิน
แล้ว ย่อมมีสิทธิตามหลัก Due process ดังจะอธิบายไว้ในข้อ (๓.๕.๒.๒) การเปิดโอกาสให้โต้แย้งคัดค้านเจ้า
พนักงานประเมินระหว่างการประเมินภาษี และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ตามข้อ (๓.๕.๒.๓) การเปิดโอกาสให้
ตรวจสอบข้อมูล
๓.๕.๒.๑ การไม่มีส่วนได้เสียของเจ้าพนักงานประเมิน
๑๖๔. ความทั่วไปเกี่ยวกับหลักความไม่มีส่วนได้เสีย หลักความไม่มีส่วนได้เสียหรือหลักความเป็นกลาง (nemo
iudex in sua causa) นั้นเป็นหลักการที่สำคัญในส่วนของหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติและรัฐธรรมนูญ
๑๔๐
นิยม ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องขั้นต่ำที่ฝ่ายปกครองพึงปฏิบัติเพื่อให้การกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองซึ่งมีวิธีพิจารณา
ที่คล้ายหรือมีลักษณะทำนองเดียวกันกับวิธีพิจารณาความในกระบวนการทางศาลนั้นมีการกำกับดูแล ควบคุมและ
ตรวจสอบ เพื่อป้องกันสิทธิของประชาชนจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่อย่างไม่เป็นธรรม มาจากหลักความคิด
พื้นฐานที่ว่าหากบุคคลใดมีอำนาจสั่งการในเรื่องที่ตนมีส่วนได้เสียอยู่แล้ว บุคคลนั้นก็จะสูญเสียความเป็นกลางจน
ไม่อาจสั่งการใด ๆ โดยปราศจากอคติในเรื่องนั้น ๆ ได้ ดังนั้น หลักความไม่มีส่วนได้เสียหรือหลักความเป็นกลางนั้น
จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินภาษีอากร
๑๖๕. ความสัมพันธ์ระหว่างประมวลรัษฏากรกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อคุ้มครองสิทธิของ
ประชาชนซึ่งใช้บังคับกับกรณีที่มิได้มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หากกฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการที่
สูงกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ย่อมต้องใช้บังคับตาม
กฎหมายเฉพาะนั้น ประมวลรัษฎากรกำหนดบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะเพียงบางเรื่อง
จึงจำเป็นต้องนำมาตรฐานทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้
๑๔๐ Vermuele, Adrian, “Contra Nemo Iudex in Sua Causa,” The Yale Law Journal (2012): 386.