Page 119 - kpiebook62008
P. 119

๘๘

               ๑๖๙.  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ ให้ความหมาย

               ของ “ คำสั่งทางปกครอง ” ว่า ๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น

               ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของ

               บุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง

               และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายรวมถึงการออกกฎ ๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อหนังสือแจ้งการ

               ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเป็นการใช้อำนาจตาม
               กฎหมายซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่าง

               จำเลยกับโจทก์ โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากร หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทั้ง ๒ ฉบับ จึงเป็น

               คำสั่งทางปกครองและต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง

               ปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งบัญญัติว่า “ คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็น

               หนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วยและเหตุผลนั้น อย่างน้อยต้องประกอบด้วย ๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ๒)

               ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ” ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรพิเคราะห์

               หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทั้ง ๒ ฉบับ ในคดีนี้แล้ว แม้จะปรากฏมีข้อความแสดงรายละเอียดถึงเดือน
               ภาษี ยอดขาย ภาษีขาย ยอดซื้อ ภาษีซื้อ การคำนวณภาษีมีตัวเลขเปรียบเทียบรายการตามแบบแสดงรายการที่

               โจทก์ยื่นไว้กับผลการตรวจสอบโดยแสดงยอดแตกต่างไว้ แต่หาได้มีข้อความแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีซื้อว่า

               รายการใดที่ต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งข้อกฎหมายที่อ้างอิงให้ชัดเจนไว้ด้วยไม่

               กรณีถือว่าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทั้ง ๒ ฉบับ ดังกล่าวมิได้จัดให้มีเหตุผลในการประเมินเรียกเก็บ

               ภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

               พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทั้ง ๒ ฉบับ เป็นการแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

               เสียแล้ว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งโจทก์อุทธรณ์การประเมินตามหนังสือแจ้งการ
               ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทั้ง ๒ ฉบับ นั้น ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและต้องเพิกถอนไปด้วย คดีจึงไม่จำเป็นต้อง

               วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ข้ออื่นอีกต่อไป





               ๑๗๐.  เมื่อการประเมินภาษีนั้นเป็นคำสั่งทางปกครองแล้ว ย่อมต้องพิจารณากฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทาง

               ปกครองร่วมด้วยในส่วนของอำนาจของเจ้าพนักงานประเมิน เท่ากับว่าเจ้าพนักงานประเมินนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ตาม
               กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.

               ๒๕๓๙ ได้ให้นิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบ
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124