Page 122 - kpiebook62008
P. 122
๙๑
ศักดิ์ศรีและสิทธิที่เท่าเทียมกันดังนั้นจึงควรต้องเคารพสิทธิดังกล่าว ผู้เสียภาษีจึงควรมีโอกาสได้แสดงเหตุผลหรือ
๑๔๓
ความคิดของตนออกมาระหว่างการประเมินภาษี
๑๗๔. หลักการรับฟังข้อเท็จจริงในบทบัญญัติของกฎหมาย ในการประเมินภาษีนั้น นำหลักการรับฟัง
ข้อเท็จจริงมาปรับใช้ คือ มาตรา ๑๙ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใด
แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียก
ผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสาร หรือ
หลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้ การออก
หมายเรียกดังกล่าวจะต้องกระทำภายในเวลาสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้นจะได้กระทำ
ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะ
เป็นวันหลัง เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือ
เป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวเกินกว่า
สองปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ แต่กรณีขยายเวลาเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากรให้
ขยายได้ไม่เกินกำหนดเวลาตามที่มีสิทธิขอคืนภาษีอากร
๓.๕.๒.๓ การเปิดโอกาสให้ตรวจสอบข้อมูล
๑๗๕. หลักการเปิดโอกาสให้ตรวจสอบข้อมูลตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติ
ไว้ว่า เจ้าพนักงานผู้ใดโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้ ได้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษีอากร หรือของผู้อื่นที่
เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้นำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือยังให้ทราบกันไปโดยวิธีใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วย
กฎหมาย กรณีที่เจ้าพนักงานฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจะมีความผิดอาญา ตามมาตรา ๑๓ แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งเจ้าพนักงานสรรพากรยึดถือปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ อย่างเคร่งครัด
๑๔๓ ประสิทธิ อัจฉริยสกุลชัย, “การประกันสิทธิตามข้อเรียกร้องของหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติในกฎหมายปกครองไทย”
(วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๕๓๑) : ๑๕