Page 126 - kpiebook62008
P. 126

๙๕

               ใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินที่ผู้ถูกประเมินภาษีเห็นว่าไม่ถูกต้องต่อ

               คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวมีความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการให้ความเป็นธรรมต่อ

               ผู้เสียภาษีซึ่งถูกประเมินภาษีอากร




                                     (๑) ผู้มีสิทธิอุทธรณ์


               ๑๘๓.  ผู้มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต้องมีฐานะเป็นผู้ที่ถูกเจ้าพนักงานประเมินประเมิน

               เรียกเก็บภาษีอากร โดยได้ถูกประเมินเรียกเก็บภาษีอากรและได้รับหนังสือแจ้งการประเมินที่ระบุถึงรายละเอียด

               จำนวนภาษีอากรที่ประเมินให้ผู้ถูกประเมินภาษีต้องเสียภาษีอากรเพื่อนำเงินไปชำระภาษีอากร  จากเจ้า
                                                                                                   ๑๔๕
               พนักงานประเมินโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว กล่าวคือ ต้องส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้เจ้า

               พนักงานสรรพากรนำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานของบุคคลนั้นในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระ
               อาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของผู้รับ จะส่ง

               ให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรืออยู่ หรือทำงานในบ้าน หรือสำนักที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ สำหรับ

               กรณีไม่สามารถส่งตามวิธีข้างต้นได้ หรือบุคคลนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ใช้วิธีปิดหมาย หนังสือแจ้งหรือ

               หนังสืออื่น แล้วแต่กรณี ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ที่อยู่ หรือสำนักงานของบุคคลนั้น หรือบ้านที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ใน

               ทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย หรือโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็น

               ปกติในท้องที่นั้นก็ได้ กฎหมายถือว่าเมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว
                                                                                                  ๑๔๖



               ๑๘๔.  อย่างไรก็ดี ประมวลรัษฎากรกำหนดกรณีที่ห้ามมิให้ผู้เสียภาษีอุทธรณ์การประเมินไว้สองกรณีด้วยกัน

               ดังนี้

                       ๑) ถ้าผู้ต้องเสียภาษีอากรไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๑๙
                                                                                                          ๑๔๗

               หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากร


               ๑๔๕  มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๘ ทวิ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๔ แห่งประมวลรัษฎากร
               ๑๔๖  มาตรา ๘ แห่งประมวลรัษฎากร

               ๑๔๗  มาตรา ๑๙ แห่งประมวลรัษฎากร “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใด

               แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้น
               มาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดง
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131