Page 130 - kpiebook62008
P. 130

๙๙

                       ๔) ให้เพิ่มภาษี เนื่องจากได้พิจารณาประเด็นการประเมินและข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์แล้วปรากฏว่าการ

               ประเมินถูกต้อง แต่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีคลาดเคลื่อนต่ำไป คณะกรรมการฯ อาจปรับปรุงการคำนวณ

               ภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นได้





               ๑๙๐.  การทุเลาการเสียภาษี ทั้งนี้ การอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการ

               พิจารณาอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ดังนั้น ถ้าผู้เสียภาษีไม่ชำระภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมาย
               กำหนด กล่าวคือ ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา ๑๘ ตรี ให้ถือเป็นภาษีอากรค้างตาม


               มาตรา ๑๒ ซึ่งจะส่งผลให้อาจถูกสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้อุทธรณ์เพื่อนำมาชำระค่าภาษี
               อากรที่ค้างได้ โดยอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอผู้มีอำนาจมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึด

               หรือสั่งแต่อย่างใด เว้นแต่กรณีที่ผู้อุทธรณ์จะขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งเป็นดุลพินิจของ

               อธิบดีกรมสรรพากรที่จะอนุมัติหรือไม่ก็ได้ในกรณีที่พิจารณาแล้วว่ามีเหตุผลและความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร
                                                                                                           ๑๕๐
               นอกจากนี้ ประมวลรัษฎากรยังมิได้กำหนดระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์เอาไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีประเด็นที่ต้อง

               พิจารณาว่าจะใช้กำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ หรือไม่




               ๑๙๑.  ผลของการอุทธรณ์คัดค้านการประเมิน ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ยังคงไม่เห็นด้วยในคำวินิจฉัยของ

               คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ กล่าวคือ ฟ้องร้องต่อศาลภาษีอากรกลางในประเด็น

               เดียวกับที่ได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานไว้ได้ รวมทั้งสามารถอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่

               เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้  ภายในกำหนดเวลา ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
                                  ๑๕๑



                              ๓.๕.๓.๒ การให้สิทธิฟ้องร้องต่อศาล


               ๑๙๒.  ประเภทของคดีที่อาจฟ้องร้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้ การเสนอคดีภาษีอากรขึ้นสู่ศาลภาษีอากรกลาง

               จะต้องเป็นกรณีดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร

               พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งได้แก่



               ๑๕๐  มาตรา ๓๑ แห่งประมวลรัษฎากร
               ๑๕๑  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๓๒/๒๕๓๑ และที่ ๓๙๒๓/๒๕๓๑
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135