Page 132 - kpiebook62008
P. 132
๑๐๑
๑) ภาษีศุลกากร ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรต่อคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมินอากร (มาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติ
ศุลกากร พ.ศ. ๒๕๖๐)
๒) ภาษีสรรพสามิต ผู้มีหน้าที่เสียภาษีผู้ใดไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีสิทธิ
อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๙๔ ได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๙๓ แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. ๒๕๖๐)
๓) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้เสียภาษีผู้ใดได้รับแจ้งการประเมินภาษีแล้วเห็นว่า การประเมินภาษีหรือ
การเรียกเก็บภาษีนั้นไม่ถูกต้องให้มีสิทธิคัดค้านและขอให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาทบทวนการประเมินหรือการ
เรียกเก็บภาษีได้ โดยให้ยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนด
ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษีหรือการเรียกเก็บภาษี แล้วแต่กรณี (มาตรา ๗๓ แห่ง
พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๒)
(๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร (มาตรา ๗ (๓))
๑๙๕. มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า
คดีตามมาตรา ๗ (๓) ในกรณีที่กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรบัญญัติให้ขอคืนค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะดำเนินการในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
ระยะเวลาเช่นว่านั้น เช่น
๑๙๖. ภาษีสรรพากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ผู้มีสิทธิขอคืนยื่นคำร้องขอคืนภายใน
สามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด (มาตรา ๒๗ ตรี แห่งประมวล
รัษฎากร)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ส่วนต่างนั้นถือว่าเป็นเครดิตภาษีผู้ประกอบการมีสิทธิได้รับ
คืนภาษีหรือนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป การขอคืนให้ขอคืนพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ของเดือนนั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีการยื่นแบบแสดงรายงานภาษีเพิ่มเติมเพราะการยื่นแบบแสดงรายงานภาษีฉบับเดิม