Page 136 - kpiebook62008
P. 136
๑๐๕
หรือรัฐมนตรีซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่กำกับหรือควบคุมกิจการของหน่วยรับตรวจ หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการ
๑๕๖
ตามกฎหมาย เพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป ทั้งนี้ กระบวนการตรวจสอบการจัดเก็บภาษี
นั้นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
๓.๖.๒ การควบคุมตรวจสอบการใช้เงินภาษีของรัฐบาล
๒๐๕. การตรวจสอบการใช้เงินภาษีของรัฐบาลของประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาเช่นเดียวกับ
หลักการตรวจสอบงบประมาณสากลซึ่งประกอบไปด้วยการตรวจสอบช่วงก่อนการใช้งบประมาณ (๓.๖.๒.๑) การ
ตรวจสอบช่วงระหว่างการใช้งบประมาณ (๓.๖.๒.๒) และการควบคุมตรวจสอบช่วงหลังการใช้งบประมาณ
(๓.๖.๒.๓) ในการตรวจสอบแต่ละช่วงเวลา ประชาชนจะมีส่วนร่วมมากน้อยแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม
๑๕๗
๑๕๘
นอกจากเงินในงบประมาณแล้ว ในระบบกฎหมายไทยยังปรากฏเงินนอกงบประมาณ ซึ่งไม่ต้องผ่านกระบวนการ
ทางงบประมาณ แต่ให้มีเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่หรือการดำเนินตามวัตถุประสงค์ของการมี
เงินนอกงบประมาณ การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณจำต้องกระทำด้วยความโปร่งใส คุ้มค่า และประหยัดโดย
พิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่ได้รับ ผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐ และต้องเป็นไปตาม
๑๕๙
รายการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของรัฐนั้น ทั้งนี้ ยังต้องจัดทำรายงานการเงินประจำปี
งบประมาณซึ่งประกอบไปด้วยเงินนอกงบประมาณด้วย
๑๖๐
๓.๖.๒.๑ การควบคุมตรวจสอบช่วงก่อนการใช้งบประมาณ
๒๐๖. การจัดทำงบประมาณ การตรวจสอบงบประมาณก่อนการใช้งบประมาณมีช่วงเวลาครอบคลุมขั้นตอน
การจัดทำงบประมาณและการอนุมัติงบประมาณ จึงจำเป็นต้องพิจารณากระบวนการจัดทำและอนุมัติงบประมาณ
๑๕๖ มาตรา ๘๖ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๖๑
๑๕๗ เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายการคลัง, หน้า ๒๒๘.
๑๕๘ “เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า บรรดาเงินทั้งปวงที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บ หรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุ หรือกรณีอื่นใดที่ต้องนำส่งคลัง แต่มีกฎหมายอนุญาตให้สามารถเก็บไว้ใช้จ่ายได้
โดยไม่ต้องนำส่งคลัง
๑๕๙ มาตรา ๖๑ ประกอบมาตรา ๓๗ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑
๑๖๐ มาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑