Page 141 - kpiebook62008
P. 141

๑๑๐

                              ๓.๖.๒.๓ การควบคุมตรวจสอบช่วงหลังการใช้งบประมาณ


               ๒๑๔.  การควบคุมตรวจสอบโดยฝ่ายบริหาร พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ได้กำหนดให้

               รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการใช้งบประมาณโดยมีอำนาจเรียกให้หน่วยรับ

               งบประมาณเสนอข้อเท็จจริงตามที่เห็นสมควร และให้มีอำนาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสรรพสมุด

                                                                   ๑๗๓
               บัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ของหน่วยรับงบประมาณได้



               ๒๑๕.  การควบคุมตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐสภาสามารถควบคุม

                                                                    ๑๗๔
                                                                                            ๑๗๕
               ตรวจสอบงบประมาณผ่านกลไกการตรวจสอบทางการเมือง  อาทิ การตั้งกระทู้ถาม  การอภิปรายไม่
               ไว้วางใจ
                      ๑๗๖



               ๒๑๖.  การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรตรวจเงินแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ

               ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๖๑ การตรวจเงินแผ่นดินของประเทศไทยมีหน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้องสามหน่วยงานอัน

               ได้แก่ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทั้งยังกำหนด

               กรอบและหลักการการตรวจเงินแผ่นดินไว้ว่า “การตรวจเงินแผ่นดินต้องกระทำด้วยความสุจริต รอบคอบ โปร่งใส

               เที่ยงธรรม กล้าหาญ ปราศจากอคติ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และการตรวจเงินแผ่นดินยังต้องคำนึงถึง

               การดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงความคุ้มค่า ความสงบเรียบร้อย

               ความไว้วางใจของสาธารณชน การดำเนินงานโดยสุจริต ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของหน่วยรับ
               ตรวจ และการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐด้วย”     ๑๗๗  นอกจากนี้ เมื่อ

               พระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการ

               ตรวจเงินแผ่นดินแล้วจะพบว่าการตรวจเงินแผ่นดินของไทยประกอบไปด้วยการตรวจเงินแผ่นดินในสามลักษณะอัน

               ได้แก่ การตรวจสอบการเงิน การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย และการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และ



               ๑๗๓  มาตรา ๓๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
               ๑๗๔  สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของประเทศไทย, หน้า ๓๒๘.

               ๑๗๕  มาตรา ๑๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

               ๑๗๖  มาตรา ๑๕๑ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
               ๑๗๗  มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๖๑
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146