Page 145 - kpiebook62008
P. 145
๑๑๔
Comptabilité publique : DGCP) ทั้งนี้ DGFiP มีภารกิจและหน้าที่หลักอยู่สองด้านด้วยกัน ประการแรก ในเรื่อง
ที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร คือ หน้าที่ในการประเมินและการจัดเก็บภาษี รวมถึงการจัดการเกี่ยวกับทะเบียนที่ดิน
ประการที่สอง ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการงบประมาณ คือ หน้าที่ในการจัดทำและบริหารงบประมาณของรัฐ ทั้ง
๑๘๒
งบประมาณรายได้และงบประมาณรายจ่าย
๒๒๓. ในการตรากฎหมายงบประมาณของประเทศฝรั่งเศส ต้องตราเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติโดย
รัฐสภาทุก ๆ ปี เรียกว่า “Loi de finances” แท้จริงแล้วก็คือพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ซึ่งจะกำหนด
รายละเอียดทั้งในด้านงบประมาณรายได้ ได้แก่ มาตรการภาษีต่าง ๆ และภาษีที่จะจัดเก็บจากประชาชน และด้าน
งบประมาณรายจ่าย โดยกฎหมายที่จะกำหนดวิธีการงบประมาณคือ “ Loi organique no 2001-692 du 1er
août 2001 relative aux lois de finances” หรือ “LOLF” ซึ่งกฎหมายที่เรียกว่า loi organique หากแปลเป็น
ไทยอาจเรียกได้ว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมี
ศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติ แต่ loi organique นั้นจะมีสถานะพิเศษมากกว่ากฎหมายระดับพระราชบัญญัติในเชิง
ที่ว่า ในการจะตรา loi organique นั้นจะต้องเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้โดยเฉพาะและต้องเป็นไปเพื่อการ
ใช้อำนาจของรัฐเท่านั้น นอกจากนี้ กระบวนการผ่าน lor organique นั้นยังยากกว่า กฎหมายระดับ
๑๘๓
พระราชบัญญัติทั่วไป หรือ loi ordinaire อีกด้วย
๔.๑.๑ สิทธิและหน้าที่ของผู้เสียภาษีอากรตามรัฐธรรมนูญ
๒๒๔. กฎหมายสูงสุดของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยย่อมต้องเป็นรัฐธรรมนูญ ของสาธารณรัฐ
ฝรั่งเศสก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่นอกจากรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับวันที่ ๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๘ (La
๑๘๔
Constitution du 4 octobre 1958) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ ๕ แล้วนั้น สาธารณรัฐ
ฝรั่งเศสยังยึดถือคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. ๑๗๘๙ (Déclaration des droits de l'homme et
๑๘๒ DGFiP. Présentation de la DGFiP [Online]. Available from: https://www.impots.gouv.fr/portail/presentation-
de-la-dgfip-overview-dgfip [2019, May 30]
๑๘๓ มาตรา ๔๖ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับวันที่ ๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๘
๑๘๔ สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ ๕ เป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญคือเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจากระบอบ
รัฐสภามาเป็นระบอบการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี