Page 140 - kpiebook62008
P. 140
๑๐๙
ตรวจสอบงบประมาณว่ารายได้ที่ถูกจัดเก็บมาถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลหรือไม่
ทั้งนี้ ตามหลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ประชาชนพึงมีสิทธิในการตรวจสอบการใช้งบประมาณของ
๑๖๙
หน่วยงานของรัฐ ในขั้นตอนการควบคุมตรวจสอบนี้ แม้สิทธิของผู้เสียภาษีจะมิได้ปรากฏโดยตรงแต่รัฐสภาใน
ฐานะเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยได้ใช้อำนาจในการตรวจสอบดังกล่าวแล้วย่อมถือว่าเป็นการใช้สิทธิควบคุม
ตรวจสอบการใช้เงินภาษีประการหนึ่งโดยผ่านผู้แทนของตน อีกทั้งในทางปฏิบัติ ผู้เสียภาษีอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
ความไม่ปกติของงบประมาณแก่ผู้แทนของตนเพื่อนำไปใช้ประกอบการอภิปรายกฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณได้
๓.๖.๒.๒ การควบคุมตรวจสอบช่วงระหว่างการใช้งบประมาณ
๒๑๒. การบริหารงบประมาณ เมื่อกฎหมายว่าด้วยงบประมาณได้ผ่านความเห็นของจากรัฐสภาแล้ว ฝ่ายบริหาร
ย่อมสามารถนำงบประมาณไปใช้ในการบริหารประเทศได้ ในการบริหารงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนัก
งบประมาณมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์การบริหารงบประมาณ และหน่วยรับงบประมาณจำต้องจัดทำ
แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งนี้ การบริหารงบประมาณจำต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายที่
ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาแล้วเท่านั้น ไม่อาจโอนหรือนำไปใช้สำหรับหน่วยงานอื่นได้ เว้นแต่มีพระราชบัญญัติให้
โอนหรือนำไปใช้ได้ มีการรวมหน่วยงานเข้าด้วยกัน เป็นการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการภายใต้แผนงาน
๑๗๐
บูรณาการเดียวกัน หรือเป็นการโอนงบประมาณรายจ่ายบุคลากรภายใต้แผนงานบุคลากรภาครัฐ นอกจากนี้ยัง
๑๗๑
มีการกำหนดการเบิกจ่ายงบประมาณไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบโดยตรงคือ กรมบัญชีกลาง
๑๗๒
๒๑๓. สิทธิของผู้เสียภาษีกับการควบคุมตรวจสอบการบริหารงบประมาณ การควบคุมตรวจสอบงบประมาณ
ในชั้นนี้มีความใกล้เคียงกับการควบคุมตรวจสอบการจัดทำงบประมาณเนื่องจากเป็นการตรวจสอบภายในฝ่าย
บริหารเอง แต่เป็นกรณีของการนำเงินงบประมาณออกไปใช้ในการบริหารประเทศ สิทธิของผู้เสียภาษีในการ
ควบคุมตรวจสอบในขั้นตอนนี้จึงเป็นไปได้ยากเช่นกัน
๑๖๙ เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายการคลัง, หน้า ๒๓๑.
๑๗๐ มาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
๑๗๑ มาตรา ๓๗ วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
๑๗๒ สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของประเทศไทย, หน้า ๓๒๖.