Page 139 - kpiebook62008
P. 139

๑๐๘

               ๒๑๐.  ผลจากการกำหนดให้แสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้ ระบบงบประมาณของประเทศไทยเป็น

               ระบบงบประมาณแบบขาเดียวตลอดเนื่องจากมีการพิจารณาเพียงแค่งบประมาณรายจ่ายโดยมิได้พิจารณา

               งบประมาณรายรับแต่อย่างใด แต่จากมาตรา ๑๔๒ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๖๐

               ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องแสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้ การ

               กำหนดในลักษณะดังกล่าวมีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่ง

               กำหนดให้ต้องมีประมาณการรายรับเป็นเอกสารประกอบ จึงเกิดปัญหาว่าการกำหนดให้แสดงแหล่งที่มาและ
               ประมาณการรายได้นั้นทำให้ประเทศไทยใช้ระบบงบประมาณแบบใด การตอบปัญหาดังกล่าว จำต้องพิจารณา

               ตั้งแต่ชื่อของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณว่ายังคงมีคำว่า “รายจ่าย” อยู่ซึ่งแสดงให้

               เห็นว่าการพิจารณางบประมาณดังกล่าวยังคงพิจารณาแต่รายจ่าย นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

               ไทยซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณเป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กำหนด

               เกี่ยวกับประเด็นของงบประมาณไว้ว่า “ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีและร่างพระราชบัญญัติ

               งบประมาณเพิ่มเติมต้องแสดงงบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายประจำปี” เมื่อพิจารณาประกอบกันแล้ว

               จะพบว่าการจะเปลี่ยนระบบงบประมาณของประเทศไทยจากงบประมาณขาเดียวไปเป็นงบประมาณสองขาได้
               จำเป็นต้องกำหนดตั้งแต่ชื่อของพระราชบัญญัติโดยไม่ต้องระบุว่าเป็นงบประมาณรายจ่าย และยังต้องกำหนดต่อไป

               ว่าต้องแสดงงบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายประจำปี ดังนั้น ระบบงบประมาณตามรัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ยังคงเป็นระบบงบประมาณขาเดียวอยู่ ในการตรวจสอบการใช้เงินภาษีจึง

               เป็นไปอย่างจำกัดโดยที่ไม่อาจทราบได้ว่ารัฐบาลจะนำเงินภาษีใดมาเป็นรายจ่าย การตรวจสอบการใช้เงินโดย

               รัฐสภาจึงเป็นไปโดยขาดความสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่ายซึ่งส่งผลให้รัฐสภาไม่อาจคุ้มครองสิทธิของผู้เสีย

               ภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ





               ๒๑๑.  สิทธิของผู้เสียภาษีกับการควบคุมตรวจสอบงบประมาณในการอนุมัติงบประมาณ รัฐสภาเป็นองค์กรที่

               มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอนุมัติร่างกฎหมายเกี่ยวกับงบประมาณต่าง ๆ รัฐสภาจึงมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและ


               (๕) รายงานเกี่ยวกับสถานะทางการเงินโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ

               (๖) รายงานเกี่ยวกับสถานะเงินนอกงบประมาณและแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณโดยรวมของหน่วยรับงบประมาณ
               (๗) คำอธิบายเกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาลทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและหนี้ที่เสนอเพิ่มเติม

               (๘) ผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว
               (๙) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144