Page 137 - kpiebook62008
P. 137
๑๐๖
ของประเทศไทยโดยสังเขปก่อน ตามกระบวนการทางงบประมาณของประเทศไทย การจัดทำงบประมาณเป็น
๑๖๑
อำนาจของฝ่ายบริหาร พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้กำหนดให้สำนักงบประมาณเป็น
หน่วยงานหลักในการจัดทำงบประมาณ โดยต้องจัดทำร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการ
๑๖๒
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อจัดทำงบประมาณแล้วเสร็จ
๑๖๓
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณต้องเสนองบประมาณให้คณะรัฐมนตรีเพื่อให้รัฐสภาอนุมัติต่อไป
๒๐๗. สิทธิของผู้เสียภาษีกับการควบคุมตรวจสอบงบประมาณในการจัดทำงบประมาณ การตรวจสอบ
งบประมาณในขั้นนี้เป็นเพียงการกำหนดกรอบของการจัดทำงบประมาณดังปรากฏในพระราชบัญญัติวิธีการ
งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ความว่า “การจัดทำงบประมาณต้องคำนึงถึงประมาณการรายรับและฐานะทางการคลัง
ของประเทศ ความจำเป็นในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ ความเป็นธรรมทางสังคม นโยบายรัฐบาล และภารกิจของ
หน่วยรับงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการ
๑๖๔
บริหารจัดการภาครัฐ” กรอบการจัดทำงบประมาณนี้แสดงให้เห็นถึงหลักประกันเบื้องต้นว่างบประมาณที่ใช้
จ่ายต่อไปในอนาคตจะอยู่บนฐานของความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารราชการ
แผ่นดิน นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาขั้นตอนการจัดทำงบประมาณแล้วจะพบว่าหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจสอบใน
ขั้นตอนนี้เป็นฝ่ายบริหารทั้งสิ้น การตรวจสอบเป็นลักษณะของการตรวจสอบภายในฝ่ายบริหารเองและมี
ระยะเวลาห่างจากการใช้งบประมาณค่อนข้างมาก จึงเป็นการยากที่ผู้เสียภาษีจะมีสิทธิในการควบคุมตรวจสอบ
๒๐๘. การอนุมัติงบประมาณ ในการจ่ายเงินภาษีจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากรัฐสภาซึ่งสอดคล้องกับหลัก
ความยินยอมทางงบประมาณ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ นั้นกำหนดให้กระทำ
ได้เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมาย
เกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง หรือกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ เว้นแต่
๑๖๑ สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของประเทศไทย, หน้า ๒๓๙.
๑๖๒ มาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
๑๖๓ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
๑๖๔ มาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑