Page 138 - kpiebook62008
P. 138
๑๐๗
๑๖๕
ในกรณีจำเป็นรีบด่วนจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ การอนุมัติ
งบประมาณจึงเป็นอำนาจหน้าที่หลักของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กฎหมายว่าด้วยงบประมาณที่ต้อง
ผ่านการอนุมัติของรัฐสภาประกอบไปด้วยร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่าง
๑๖๖
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย สำหรับกฎหมาย
ว่าด้วยงบประมาณที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องใช้กฎหมายดังกล่าวในการใช้จ่ายงบประมาณในทุกปี
๒๐๙. การอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในการเสนอ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องแสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้
ผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจ่ายเงินและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนา
๑๖๗
ต่าง ๆ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณราชจ่ายประจำปีงบประมาณจึงต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติดังได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ (๓.๓)
และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐดังได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ (๓.๒) นอกจาก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้ว ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปียัง
๑๖๘
ต้องมีเอกสารประกอบต่าง ๆ ดังที่ปรากฏในมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑
๑๖๕ มาตรา ๑๔๐ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
๑๖๖ มาตรา ๑๔๓ วรรคแรก แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
๑๖๗ มาตรา ๑๔๒ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
๑๖๘ มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ งบประมาณประจำปีที่เสนอต่อรัฐสภา อย่างน้อยต้องมีเอกสาร
ประกอบ ดังต่อไปนี้
(๑) คำแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายการคลังและการเงิน สาระสำคัญของงบประมาณ และความสัมพันธ์
ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง
(๒) รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบัน และปีที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย
(๓) คำอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับ
(๔) คำชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ซึ่งรวมถึงการแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่าย
งบประมาณ และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ