Page 142 - kpiebook62008
P. 142

๑๑๑

                                       ๑๗๘
               ประสิทธิภาพการดำเนินงาน  การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรตรวจเงินแผ่นดินเป็นการตรวจสอบโดยองค์กร
               อิสระซึ่งมีความเป็นกลางและมีความน่าเชื่อถือ การควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรตรวจเงินแผ่นดินจึงเป็นการ

               ควบคุมตรวจสอบที่ประสิทธิภาพอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับการควบคุมตรวจสอบในกรณีอื่น




               ๒๑๗.  สิทธิของผู้เสียภาษีกับการควบคุมตรวจสอบหลังการใช้งบประมาณ แม้การควบคุมตรวจสอบหลังการ

               ใช้งบประมาณจะเป็นการควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องมิได้ให้อำนาจในการ

               ควบคุมตรวจสอบแก่ผู้เสียภาษีโดยตรง ผู้เสียภาษีจึงต้องใช้สิทธิในการควบคุมตรวจสอบในชั้นนี้ได้โดยผ่าน

               หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การร้องเรียนไปยังคณะรัฐมนตรีโดยเฉพาะกระทรวงการคลังที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง

               ในการควบคุมการใช้งบประมาณ การร้องเรียนสมาชิกรัฐสภาเพื่อนำข้อร้องเรียนดังกล่าวไปตรวจสอบทางการเมือง
               ต่อไป การร้องเรียนไปยังองค์กรตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น สำหรับการร้องเรียนไปยังองค์กรตรวจเงินแผ่นดิน

               สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้กำหนดช่องทางในการร้องเรียนไว้ในข้อบังคับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินว่า

               ด้วยการตรวจสอบสืบสวน พ.ศ.๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๙ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๒ (ฉบับ

               ที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยมีการกำหนดวิธีการต่าง ๆ ไว้เป็นการเฉพาะ เช่น การร้องเรียนเป็นหนังสือ การร้องเรียน

               ทางโทรศัพท์ การร้องเรียนทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น




                       ๓.๖.๓ การควบคุมตรวจสอบการใช้เงินภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               ๒๑๘.  โดยทั่วไปแล้ว เมื่อมีการจัดเก็บภาษีของประชาชนแล้ว การจะใช้จ่ายเงินภาษีดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับ

               ความยินยอมจากรัฐสภาโดยการตราเป็นกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ แต่การใช้จ่ายภาษีบางส่วนมิได้ผ่านความ

               ยินยอมของรัฐสภาดังปรากฏให้เห็นในกรณีของภาษีท้องถิ่น เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการปกครอง

               แบบกระจายอำนาจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จึงเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้ง

               ผู้บริหารท้องถิ่น และสภาท้องถิ่น  พร้อมทั้งยังกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี
                                            ๑๗๙
               รายได้ของตนเองโดยจัดระบบภาษีหรือการจัดสรรภาษีที่เหมาะสม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังต้องมีอิสระ





               ๑๗๘  มาตรา ๘๕ ๘๙ และ ๙๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๖๑ ประกอบข้อ ๑

               แห่งประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน
               ๑๗๙  มาตรา ๒๕๒ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147