Page 131 - kpiebook62008
P. 131
๑๐๐
๑) คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร (มาตรา ๗
(๑))
๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร (มาตรา ๗ (๒))
๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร (มาตรา ๗ (๓))
๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร
(มาตรา ๗ (๔))
๕) คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร (มาตรา ๗ (๕))
ทั้งนี้ คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร (มาตรา ๗
(๑)) และ คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร (มาตรา ๗ (๓)) กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขในการเสนอคดีต่อ
ศาลภาษีอากรกลางไว้ ซึ่งหากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวย่อมถือว่าผู้เสนอคดีนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
(๑) คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับ
ภาษีอากร
๑๙๓. ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๘ บัญญัติว่า
คดีตามมาตรา ๗ (๑) ในกรณีที่กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรบัญญัติให้คัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อ
เจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะฟ้องคดีในศาลภาษีอากรได้ก็
ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเช่นว่านั้น และได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำ
อุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว รวมถึงการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใต้ประมวล
รัษฎากร
๑๙๔. นอกเหนือจากการอุทธรณ์คัดค้านตามประมวลรัษฎากรแล้ว ในส่วนของภาษีอากรอื่น ๆ นั้น เช่น