Page 127 - kpiebook62008
P. 127

๙๖

               ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนเงินซึ่งต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์การ

               ประเมิน (มาตรา ๒๑ แห่งประมวลรัษฎากร)


                       ๒) ถ้าผู้ได้รับหมายหรือคำสั่งของอำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมิน แล้วแต่กรณี ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือ

                                                              ๑๔๘
               คำสั่งของอำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๒๓  หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอัน
               สมควร อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง และแจ้งจำนวนภาษี

               อากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน (มาตรา ๒๕ แห่งประมวลรัษฎากร)





                                     (๒) แบบคำอุทธรณ์


               ๑๘๕.  หากผู้ถูกประเมินภาษีต้องการคัดค้านการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน มาตรา ๒๘ แห่ง
               ประมวลรัษฎากรให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในการกำหนดแบบในการอุทธรณ์ ซึ่งผู้ถูกประเมินภาษีสามารถยื่น

               คำอุทธรณ์เป็นรายฉบับตามหนังสือแจ้งการประเมิน หรือรวมยื่นคำอุทธรณ์ฉบับเดียวสำหรับหนังสือแจ้งการ

               ประเมินหลายฉบับก็ได้ โดยจักต้องระบุให้ชัดแจ้งว่าอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีประเภทใด เดือนหรือปีภาษีใด

               ตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับใดและเป็นจำนวนเงินภาษีเท่าใด และสิ่งสำคัญที่ต้องระบุคือผู้ถูกประเมินภาษีไม่

               เห็นด้วยกับการประเมินในประเด็นใด พร้อมทั้งแสดงเหตุผลในทุกประเด็นและแสดงเอกสารหลักฐานประกอบ

               เหตุผลนั้นด้วย ปัจจุบัน อธิบดีกรมสรรพากรได้ประกาศกำหนดแบบคำอุทธรณ์ไว้สองประเภท

                       ๑) แบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.๖) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การกำหนดแบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.๖) ลงวันที่

               ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งแบบภ.ส.๖ นั้น ใช้ได้กับการอุทธรณ์ทุกกรณี



               ได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย  ทั้งนี้ การออกหมายเรียกดังกล่าวจะต้องกระทำภายในเวลาสองปี

               นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้นจะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยาย
               หรือเลื่อนออกไปหรือไม่  ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมี

               เจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายเวลาการออกหมายเรียก

               ดังกล่าวเกินกว่าสองปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ แต่กรณีขยายเวลาเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากรให้
               ขยายได้ไม่เกินกำหนดเวลาตามที่มีสิทธิขอคืนภาษีอากร”

               ๑๔๘  มาตรา ๒๓ แห่งประมวลรัษฎากร “ผู้ใดไม่ยื่นรายการให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมิน แล้วแต่กรณี มีอำนาจออกหมายเรียก

               ตัวผู้นั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ที่ไม่ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่อง
               มาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย”
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132