Page 125 - kpiebook62008
P. 125
๙๔
กรมสรรพากร อย่างไรก็ดี มีการตัดทอนข้อมูลบางส่วนที่ถูกห้ามมิให้เปิดเผยออกไป เหลือเพียงสาระสำคัญที่
เปิดเผยได้เท่านั้น
๓.๕.๓ การโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษี
๑๘๐. กระบวนการโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายแม่บท
ที่ให้อำนาจในการจัดเก็บภาษีสรรพากรแก่กรมสรรพากร โดยภาษีอากรที่จัดเป็นภาษีอากรประเมินนั้น ประมวล
รัษฎากรได้ให้ความหมายไว้ในมาตรา ๑๔ ซึ่งกำหนดไว้เพียงว่า ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่า
เป็นภาษีอากรประเมิน ซึ่งอาจไม่ชัดเจนเท่าไรนัก อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาหมวด ๒ วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากร
ประเมินจะพึงเข้าใจได้ว่า ภาษีอากรประเมิน คือ ภาษีอากรที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร
ประเมินนั้น ประเมินตนเองและมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อให้เห็นถึงเงินได้ของตน และสิทธิประโยชน์ทาง
ภาษีต่าง ๆ ที่ตนอาจได้รับ โดยเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจและหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของ
จำนวนภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรประเมินนั้นพึงต้องชำระ หากเจ้าพนักงานประเมินมองว่าไม่ถูกต้อง เจ้า
พนักงานประเมินจะทำการประเมินเรียกเก็บภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามกฎหมาย แล้วส่งหนังสือแจ้ง
การประเมินให้ผู้เสียภาษีเพื่อดำเนินการเสียภาษีให้ถูกต้อง
๑๘๑. เมื่อได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าพนักงานประเมินแล้ว หากผู้เสียภาษีอากรที่ถูกประเมินไม่
เห็นด้วยกับการประเมินภาษีเช่นว่านั้น กฎหมายเปิดช่องให้สิทธิแก่ผู้เสียภาษีอากรที่ถูกประเมินในการโต้แย้ง
คัดค้านการประเมินภาษีดังกล่าว โดยในลำดับแรก ให้ดำเนินการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ดังจะอธิบายต่อไปใน (๓.๕.๓.๑) การให้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และหากผู้เสียภาษียังคงไม่
เห็นด้วยกับผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อีก ผู้เสียภาษีอาจใช้สิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลภาษี
อากรกลางได้ในลำดับต่อมา ดังจะอธิบายต่อไปใน (๓.๕.๓.๒) การให้สิทธิฟ้องร้องต่อศาล
๓.๕.๓.๑ การให้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
๑๘๒. ประมวลรัษฎากร หมวด ๒ วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน ๒ การอุทธรณ์ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการ
ให้สิทธิผู้ถูกประเมินภาษีในการใช้สิทธิอุทธรณ์ภาษีอากร ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถ