Page 121 - kpiebook62008
P. 121

๙๐

               (๑) ถ้าผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อนและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้น

               ไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี


               (๒) ถ้ามีคู่กรณีคัดค้านว่าผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว หากผู้นั้นเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านนั้น ผู้นั้นจะทำการพิจารณา

               เรื่องต่อไปก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี


               (๓) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่มีคำสั่ง

               หรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นมีอำนาจในการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นหรือไม่


               ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคสอง และมาตรา ๑๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม”




                              ๓.๕.๒.๒ การเปิดโอกาสให้โต้แย้งคัดค้านต่อเจ้าพนักงานประเมินระหว่างการประเมินภาษี


               ๑๗๒.  ความทั่วไปเกี่ยวกับหลักการรับฟังข้อเท็จจริง นอกเหนือจากหลักการไม่มีส่วนได้เสียซึ่งเป็นหลักการที่

               สำคัญในส่วนของหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติและรัฐธรรมนูญนิยม ยังคงมีหลักต้องฟังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง

               (audi alteram partem)  ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานและสำคัญที่ใช้ในระบบยุติธรรมของอังกฤษ ซึ่งเป็นหลักการ
                                     ๑๔๒
               ที่กำหนดให้ผู้ที่กระทำการอย่างตุลาการหรือกึ่งตุลาการจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งต้องให้แต่

               ละฝ่ายมีโอกาสแสดงข้อเท็จจริง พยานหลักฐานและมีสิทธิรับรู้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย

               เพื่อที่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสได้โต้แย้งคัดค้าน




               ๑๗๓.  หลักการรับฟังข้อเท็จจริงสกัดมาจากแนวคิดสองประการด้วยกัน ประการแรก ในอุดมคติ เจ้าหน้าที่ฝ่าย

               ปกครองหรือในกรณีการประเมินภาษีคือเจ้าพนักงานประเมินนั้นควรจะต้องมีเหตุผลและรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
               อย่างครบถ้วน แต่ในทางปฏิบัตินั้น เจ้าพนักงานประเมินอาจไม่สามารถรู้ถึงข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ที่แท้จริง

               ของผู้เสียภาษี ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจึงควรต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากผู้เสียภาษีซึ่งถูกกระทบสิทธิ โดย

               ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ดังกล่าว อาจมีผลทำให้การประเมินภาษีนั้นเปลี่ยนแปลงไป ประการที่สอง มนุษย์ทุกคนพึงมี











               ๑๔๒  Kelly, John M., “Audi Alteram Partem,” The American Journal of Jurisprudence (1964): 103-110.
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126