Page 129 - kpiebook62008
P. 129
๙๘
ประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ การอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นคำอุทธรณ์เป็นอำนาจของอธิบดี
๑๔๙
กรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดี
(๔) องค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
๑๘๘. องค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นไปตามพื้นที่ที่มีการยื่นอุทธรณ์ กล่าวคือ ผู้เสียภาษี
อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามท้องที่ ๆ ตนอยู่ หากผู้เสีย
ภาษีอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร มาตรา ๓๐ (๑) (ก) แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้เสียภาษียื่นอุทธรณ์ต่อ
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และ
ผู้แทนกรมการปกครอง สำหรับกรณีที่ผู้เสียภาษีอยู่ในต่างจังหวัด มาตรา ๓๐ (๑) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
กำหนดให้ผู้เสียภาษียื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน
สรรพากรภาคหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน
(๕) การพิจารณาอุทธรณ์และผลของการอุทธรณ์คัดค้านการประเมิน
๑๘๙. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะพิจารณาและวินิจฉัยข้อโต้แย้งตามคำอุทธรณ์เมื่อแล้วเสร็จจะส่งผลเป็น
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ภ.ส.๗) ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.
๒๕๓๙ ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้
๑) ให้ปลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องเสียภาษีอากร
ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน
๒) ให้ลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินบางส่วนถูกต้อง และบางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรับปรุง
จำนวนภาษีให้คงเหลือเท่าที่ผู้อุทธรณ์ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน
๓) ให้ยกอุทธรณ์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินถูกต้องแล้ว ซึ่งผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการ
ประเมิน
๑๔๙ มาตรา ๓ อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร