Page 112 - kpiebook62008
P. 112

๘๑

               ๑๕๐.  อย่างไรก็ดี เนื่องจากบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรนั้น มิได้ครอบคลุมไปถึงกรณีการกำหนดราคาโอนไว้

               โดยเฉพาะเจาะจง ทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันยัง

               ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้น จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่

               ๔๗) พ.ศ. ๒๕๖๑ ให้เพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา ๓๕ ตรี มาตรา ๗๑ ทวิ และมาตรา ๗๑ ตรี กำหนดให้อำนาจเจ้า

               พนักงานประเมินในการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน ให้ได้จำนวน

               รายได้ที่พึงได้รับหรือรายจ่ายที่พึงได้จ่าย กำหนดความหมายและลักษณะของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี
               ความสัมพันธ์กันเพื่อความชัดเจน รวมถึงกำหนดในเรื่องของรายงานข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกันและ

               ธุรกรรมต่าง ๆ โดยบทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่อไปในกฎหมาย

               ลำดับรองต่อไป





               ๑๕๑.  เมื่อพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗)ฯ มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย รวมถึง

               กฎหมายลำดับรองที่จะประกาศใช้บังคับในอนาคตเป็นการทั่วไปแล้ว ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคา

               โอนย่อมต้องพิจารณาและใช้บทบัญญัติดังกล่าว ในส่วนของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. ๑๑๓/๒๕๔๕ฯ ลงวันที่ ๑๖

               พฤษภาคม ๒๕๔๕ จักต้องรอการพิจารณาจากกรมสรรพากรว่าจะดำเนินการแก้ไขแนวทางปฏิบัติตามคำสั่ง

               กรมสรรพากรที่ ป. ๑๑๓/๒๕๔๕ฯ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้สอดคล้องกับกฎหมายลำดับรองที่จะ
               ประกาศใช้บังคับ หรือยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีที่บทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่ได้

               แก้ไขเพิ่มเติม หรือกฎหมายลำดับรองหาได้กำหนดประเด็นเหล่านั้นไว้ไม่และในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. ๑๑๓/

               ๒๕๔๕ฯ ได้มีการกำหนดประเด็นดังกล่าวเอาไว้ ย่อมอาจยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติได้





                              ๓.๕.๑.๒ การให้คำแนะนำผ่านหนังสือตอบข้อหารือของหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากร

               ๑๕๒.  แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรในการให้คำแนะนำผ่านหนังสือตอบข้อหารือ ในการตอบข้อหารือ

               ปัญหากฎหมายภาษีอากร กรมสรรพากรในฐานะหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอาจตอบด้วย

               วาจา หรือเป็นหนังสือก็ได้ กล่าวคือ ผู้เสียภาษีอาจโทรศัพท์เข้าไปถึงหรือเดินทางไปยังกองกฎหมาย กรมสรรพากร

               เพื่อสอบถามปัญหากฎหมายภาษีอากรซึ่งเป็นการให้บริการทางกฎหมายโดยกองกฎหมาย กรมสรรพากร หรือผู้

               เสียภาษีอาจส่งหนังสือหารือเข้ามา ณ กรมสรรพากรเป็นลายลักษณ์อักษร โดยแนวทางในการตอบข้อหารือปัญหา
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117