Page 108 - kpiebook62008
P. 108

๗๗

               การดำเนินธุรกิจในความเป็นจริง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทุกรายย่อมมีทรัพย์สินที่จะคิดค่าสึกหรอและค่า

               เสื่อมราคา ในขณะที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพียงบางรายเท่านั้นที่อาจมีหนี้สูญเกิดขึ้น ดังนั้น ลำดับศักดิ์

               ของกฎหมายจึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแต่ละเงื่อนไข หรือ กรณีค่ารับรองที่อาจพบได้ในบริษัทหรือห้าง

               หุ้นส่วนนิติบุคคลทุกราย แต่โดยทั่วไปเป็นเพียงรายการเบ็ดเตล็ด ในการออกหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในเรื่อง

               ดังกล่าว ประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวงเท่านั้น




               ๑๔๑.  หลักการและเหตุผลประการที่สอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงลำดับศักดิ์ของกฎหมายที่มีความต่างกัน ในอันที่

               จะตีความกฎหมายตามหลักการตีความว่า กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าย่อมขัดหรือแย้งและมีผลยกเลิกกฎหมาย

               ที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่า ในขณะเดียวกัน กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าก็ย่อมจะขัดหรือแย้งกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูง

               กว่ามิได้ มิฉะนั้น กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะตกเป็นโมฆะ
                                                                   ๑๒๙



               ๑๔๒.  หลักการและเหตุผลประการที่สาม เพื่อให้เป็นไปตามลักษณะของภาษีอากรที่ดีในเรื่องของความสะดวก

               (Simplicity) ที่ว่า ภาษีที่ดีจะต้องมีความสะดวกในการจัดเก็บ และสะดวกในการเสียภาษีของผู้เสียภาษีด้วย

               รวมถึง เรื่องของความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และความยืดหยุ่น (Flexibility) ดังนั้น ในการออกกฎหมาย
               ลำดับรองจะต้องคำนึงถึงปัจจัยในทางปฏิบัติด้วยว่า ในเรื่องใดที่ต้องการความยืดหยุ่นมาก จะต้องออกกฎหมาย

               ลำดับรองประเภทใด เช่น ในการกำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวล

               รัษฎากรนั้น ให้อธิบดีกรมสรรพากรออกเป็นคำสั่งกรมสรรพากร (ท.ป.) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากร

               และให้การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา

               ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร
                                     ๑๓๐




               ๑๔๓.  อย่างไรก็ดี ในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและอาจกระทบสิทธิของประชาชน ย่อมต้องผ่าน

               ขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ในเรื่องการยกเว้นรัษฎากร หรือการลดอัตราภาษีต่าง ๆ

               ต้องตราเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคง

               ๑๒๙  สุเทพ พงษ์พิทักษ์, “๑๐๐ ถาม-ตอบ ความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร,” หน้า ๑๐.

               ๑๓๐  มาตรา ๑๑ แห่งประมวลรัษฎากร “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติหรืออธิบดีจะสั่งเป็นอย่างอื่น ให้นำเงินภาษีอากรไปเสีย ณ ที่ว่าการ
               อำเภอ และการเสียภาษีอากรนั้นให้ถือว่าเป็นการสมบูรณ์เมื่อได้รับใบเสร็จรับเงินซึ่งนายอำเภอได้ลงลายมือชื่อรับเงินแล้ว”
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113