Page 106 - kpiebook62008
P. 106

๗๕

               แล้วเห็นว่า ตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเป็นกรณีที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า

               กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นการกระทำที่ขัดหรือ

               แย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ หรือไม่อันเป็นกรณีการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ

               ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ซึ่งตาม

               มาตรา ๑๔๘ ประกอบมาตรา ๒๖๓ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้บัญญัติกระบวนการ

               ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โดยกำหนดให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
               จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๐ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เสนอความเห็นดังกล่าวต่อประธานสภานิติ

               บัญญัติแห่งชาติ เพื่อส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย หรือให้นายกรัฐมนตรีส่งความเห็นไปยังศาล

               รัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าว โดยอาศัยช่องทางมาตรา ๒๑๓ แห่งรัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้ และเมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว คำขออื่นย่อมเป็นอันตกไป




               ๓.๕ การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีระหว่างกระบวนการจัดเก็บภาษี


               ๑๓๖.  ในกระบวนการจัดเก็บภาษี หน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรมีภารกิจและหน้าที่ที่พึงต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

               และนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน การรับรองคุ้มครอง

               สิทธิของผู้เสียภาษีในระหว่างกระบวนการดังกล่าวย่อมต้องมีเช่นเดียวกัน และต้องรักษาสมดุลระหว่างสองสิ่งนี้ไว้

               ให้ดี กฎหมายได้กำหนดให้อำนาจในการจัดเก็บภาษีแก่หน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรเอาไว้ (๓.๕.๑) โดยต้องมีความ

               โปร่งใสในการจัดเก็บภาษี (๓.๕.๒) และเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีสามารถโต้แย้งคัดค้านการจัดเก็บภาษีนั้นได้
               (๓.๕.๓)





                       ๓.๕.๑ การสร้างความเข้าใจแนวทางการจัดเก็บภาษี

               ๑๓๗.  กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความใน

               มาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ

               ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้กรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี

               อากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้แก่ ภาษีเงินได้

               (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ในส่วน
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111