Page 111 - kpiebook62008
P. 111
๘๐
๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่ง “คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.” ทั้งหลายที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นเป็นคำสั่งที่ออกโดย
อาศัยอำนาจตามความในประมวลรัษฎากรทั้งสิ้น จึงถือเป็นอนุบัญญัติของประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายลูก โดย
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. นั้นหมายความว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ออกเพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไป (ท.ป.
หมายความว่า ทั่วไป)
๑๔๘. นอกจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. แล้ว อธิบดีกรมสรรพากรอาจออกคำสั่งกรมสรรพากรในลักษณะที่
เป็นแนวทางปฏิบัติภายในองค์กร คือ “คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.” กล่าวคือ เป็นคำสั่งกรมสรรพากรที่มิได้ออกโดย
อาศัยอำนาจตามความในประมวลรัษฎากร ดังนั้น จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นอนุบัญญัติ หากเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติ
ของเจ้าพนักงานสรรพากรในการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ เนื่องจากอธิบดีกรมสรรพากรไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะ
ออกคำสั่งกรมสรรพากรในเรื่องดังกล่าวที่มีอำนาจบังคับเป็นการทั่วไปแก่บุคคลภายนอก แต่อธิบดีกรมสรรพากรมี
อำนาจสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาถือปฏิบัติ อาทิ
๑๔๙. คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. ๑๑๓/๒๕๔๕ เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณี
การกำหนดราคาโอนให้เป็นไปตามราคาตลาด ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ อันเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้
เจ้าพนักงานสรรพากรยึดถือให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาโอน หรือ
Transfer Pricing ซึ่งเป็นวิธีการถ่ายโอนกำไรวิธีหนึ่งซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลข้ามชาติที่มีขนาดใหญ่นิยม
ใช้กันเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรที่ต้องเสีย โดยใช้วิธีการตั้งข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงินในการทำ
ธุรกรรมระหว่างกันแตกต่างจากที่ควรกำหนดระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันในด้าน
ทุน ด้านการจัดการ หรือการควบคุม กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นอิสระจากกัน โดยคำสั่ง
กรมสรรพากรที่ ป. ๑๑๓/๒๕๔๕ฯ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณกำไรสุทธิ
เพื่อเสียภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล การประเมินรายได้หรือรายจ่ายให้เป็นไปตามราคาตลาด
วิธีการคำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาตลาด เอกสารหลักฐานที่ควรจัดทำเพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินพิจารณา และ
หลักเกณฑ์ในการยื่นคำขอทำข้อตกลงการกำหนดราคาเป็นการล่วงหน้า (Advanced Pricing Arrangement :
APA)