Page 204 - kpiebook62008
P. 204
๑๗๓
๓๕๔. ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะสั้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณในประเทศไทยยัง
ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในทันที ในระหว่างการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณ
ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยอาจกำหนดกลไกซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายเงินภาษีอย่าง
๒๔๗
เหมาะสมเพื่อเพิ่มการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีได้ กลไกดังกล่าวมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑) การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของนโยบายหรือมาตรการภาษี (Sunset Clause) การตรากฎหมายเพื่อ
จัดเก็บภาษีพึงกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตายตัวของนโยบายหรือมาตรการภาษีเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการพิจารณา
ทบทวนนโยบายหรือมาตรการภาษีดังกล่าว หากนโยบายหรือมาตรการภาษีดังกล่าวยังคงจำเป็นอยู่ ก็สามารถ
พิจารณานำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่หากนโยบายหรือมาตรการภาษีดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็น
ที่จะต้องนำกลับมาใช้ใหม่ การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดดังกล่าวนี้ย่อมเป็นการคลายอำนาจในการใช้บังคับกฎหมาย
ภาษีที่มีลักษณะถาวรลงบางส่วนเพื่อให้เกิดการพิจารณาความเหมาะสมของกฎหมายภาษีดังกล่าว
(๒) การรายงานการลดหรือยกเว้นภาษีต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๖๐ การลดหรือยกเว้นภาษี มิได้ถูกกำหนดให้รายงานต่อองค์กรใด แต่การรายงานการลดหรือยกเว้นภาษีอยู่
ภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการ
คลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรายงานต่อผู้มีอำนาจ ในกรณีที่มีการลดหรือยกเว้นภาษี
บทบัญญัติดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาว่าผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงองค์กรใด เมื่อพิจารณาแล้วจะ
พบว่าในการตรากฎหมายลำดับรองเพื่อลดหรือยกเว้นภาษี ผู้มีอำนาจย่อมมิใช่รัฐสภา ดังนั้น หน่วยงานของรัฐที่
ตรากฎหมายลำดับรองเพื่อลดหรือยกเว้นภาษีจึงไม่จำต้องรายงานต่อรัฐสภา ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้แก้ไขมาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ โดยกำหนดให้การลดหรือยกเว้นภาษีจำเป็นต้อง
รายงานต่อรัฐสภา ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐสภารับทราบถึงการลดหรือการยกเว้นภาษีดังกล่าวและหากการลดหรือยกเว้น
ภาษีเป็นไปโดยไม่เหมาะสม รัฐสภาย่อมสามารถตรวจสอบได้ตามช่องทางต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด เช่น การ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ การตั้งกระทู้ถามสด เป็นต้น การรายงานการลดหรือยกเว้นภาษีต่อรัฐสภาย่อมคุ้มครองสิทธิ
ของผู้เสียภาษีได้มากขึ้นเนื่องจากเป็นกลไกที่ทำให้รัฐสภามีข้อมูลเพื่อจุดประการการตรวจสอบรัฐบาล
๒๔๗ กลไกดังกล่าวได้รับคำแนะนำจากรองศาสตราจารย์ ดร.สุปรียา แก้วละเอียดในงานสัมมนานำเสนอผลการศึกษาโครงการวิจัย
ชิ้นนี้