Page 205 - kpiebook62008
P. 205

๑๗๔

                       ๕.๔.๒ การสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม

               ตรวจสอบ


               ๓๕๕.  การมีส่วนร่วมของผู้เสียภาษีในการตรวจสอบ เมื่อพิจารณากระบวนการตรวจสอบงบประมาณของ

               ประเทศไทยจะพบว่า กระบวนการตรวจสอบงบประมาณประกอบไปด้วยการตรวจสอบก่อนการใช้งบประมาณ

               การตรวจสอบระหว่างการใช้งบประมาณ และการตรวจสอบหลังการใช้งบประมาณ การตรวจสอบทั้งสามช่วงเวลา

               มิได้กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิในการตรวจสอบได้โดยตรง แต่ประชาชนอาจใช้สิทธิดังกล่าวผ่านองค์กรของรัฐที่
               เกี่ยวข้อง อาทิ รัฐสภา องค์กรตรวจเงินแผ่นดิน แต่การตรวจสอบการใช้งบประมาณที่สำคัญมากที่สุดคือการ

               ตรวจสอบโดยองค์กรตรวจเงินแผ่นดินซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

               และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในแง่ของสิทธิของผู้เสียภาษีในการตรวจสอบการใช้เงินภาษี องค์กรตรวจเงิน

               แผ่นดินได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบดังปรากฏตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงิน

               แผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน นอกจากนี้ องค์กรตรวจเงินแผ่นดินยังมีอำนาจ

               หน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอีกด้วย องค์กรตรวจเงินแผ่นดินจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุม

               ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีและการใช้เงินภาษี




               ๓๕๖.  ข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมสิทธิของผู้เสียภาษีในการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีและการใช้เงินภาษี จาก

               กระบวนการตรวจสอบงบประมาณ การที่กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิในการตรวจสอบการจัดเก็บภาษีและ

               การใช้เงินภาษีผ่านองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องนั้นมีความเหมาะสมแล้วเนื่องจากการตรวจสอบงบประมาณเป็นเรื่องที่
               ละเอียดอ่อน และต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบ ประชาชนควรมีส่วนในฐานะเป็นผู้ให้ข้อเท็จจริงต่าง

               ๆ หรือเป็นพยานในคดีที่เกี่ยวข้อง แต่การใช้สิทธิดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลได้ย่อมต้องมี

               มาตรการคุ้มครองประชาชนผู้ให้ข้อมูลอย่างเหมาะสม พร้อมกับมีมาตรการส่งเสริมให้เกิดการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ

                                                                                       ๒๔๘
               ความไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมในการใช้เงินภาษีในฐานะที่ประชาชนเป็นผู้แจ้งเบาะแส








               ๒๔๘  โปรดศึกษาเพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. การศึกษาวิจัยประเมิน
               ประสิทธิภาพของผู้แจ้งเบาะแส. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ จัดทำโดยศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ และคณะ. กรุงเทพมหานคร :

               สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ., ๒๕๖๐.
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210