Page 203 - kpiebook62008
P. 203

๑๗๒

                       (๓) การนำระบบงบประมาณสองขามาใช้บังคับก่อให้เกิดความซับซ้อนในการบังคับกฎหมายเพื่อจัดเก็บ

               ภาษี หากประเทศไทยนำระบบงบประมาณสองขามาใช้บังคับ ประเทศไทยมิได้เปลี่ยนแปลงเฉพาะระบบ

               งบประมาณเท่านั้น แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีด้วย กล่าวคือ ในปัจจุบัน เมื่อรัฐสภาอนุมัติ

               พระราชบัญญัติภาษีแล้ว รัฐบาลมีอำนาจบังคับใช้พระราชบัญญัติภาษีต่าง ๆ ในการจัดเก็บภาษีได้ตามที่

               พระราชบัญญัติภาษีนั้นกำหนด จนกว่ารัฐสภาจะแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติภาษีนั้นเนื่องจากใน

               ระบบงบประมาณขาเดียว พระราชบัญญัติภาษีมีการกำหนดโครงสร้างภาษีและให้อำนาจในการจัดเก็บภาษีด้วย
               แต่หากประเทศไทยนำระบบงบประมาณสองขามาใช้บังคับ พระราชบัญญัติภาษีจะเป็นเพียงกฎหมายที่กำหนด

               โครงสร้างในการจัดเก็บภาษีเท่านั้น รัฐบาลจะมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีหรือไม่ อย่างไร รัฐบาลจำเป็นต้อง

               พิจารณาตามพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีซึ่งรัฐสภาอาจทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีผ่าน

               พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีได้ ดังนั้น การจัดเก็บภาษีของประเทศไทยในกรณีที่ใช้บังคับระบบงบประมาณ

               สองขาจำเป็นต้องพิจารณาพระราชบัญญัติภาษีและพระราชบัญญัติงบประมาณประกอบดัน ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการนำ

               ระบบงบประมาณสองขามาใช้บังคับอาจก่อให้เกิดความยุ่งยากและความซับซ้อนในการจัดเก็บภาษีของประเทศ

               ไทยอย่างยิ่ง

                       ภายใต้ข้อจำกัดที่เกิดจากการนำระบบงบประมาณสองขามาใช้บังคับข้างต้น แม้ผู้วิจัยเห็นว่าการนำระบบ

               งบประมาณสองขามาใช้บังคับย่อมก่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีที่ดียิ่งขึ้น แต่การจะเปลี่ยนแปลงจาก

               ระบบงบประมาณขาเดียวไปเป็นระบบงบประมาณสองขาเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเตรียมตัวและ

               ต้องทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้ ดังนั้น หากประเทศไทยประสงค์จะใช้ระบบงบประมาณสอง

               ขา ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยยังไม่อาจเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณได้ในทันที แต่พึงนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา

               ในระยะยาวโดยอาศัยการระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อให้ความพร้อมของระบบ
               กฎหมายงบประมาณและกฎหมายภาษี ตลอดจนหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เมื่อ

               พิจารณายุทธศาสตร์ชาติแล้วจะพบว่า ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

               ภาครัฐได้กำหนดให้กำหนดเพิ่มรายได้คู่กับแผนงบประมาณให้เกิดสมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่าย แต่ยังมิได้

               กำหนดถึงระบบงบประมาณสองขาอย่างชัดเจน การวางแผนเพื่อเข้าสู่ระบบงบประมาณสองขาพึงบรรจุอยู่ใน

               ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศอย่างชัดเจน เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเห็นผลเป็นรูปธรรมมาก

               ยิ่งขึ้น
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208