Page 200 - kpiebook62008
P. 200

๑๖๙

               ไทยในปัจจุบันเป็นเพียงการพิจารณางบประมาณรายจ่ายโดยมิได้พิจารณางบประมาณรายรับ จึงเกิดความไม่

               สมดุลดังกล่าว ระบบงบประมาณสองขาจึงเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ




               ๓๕๑.  ข้อดีของระบบงบประมาณสองขา ระบบงบประมาณสองขาเป็นการควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาลโดยมี

               การแจกแจงรายละเอียดทั้งงบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่าย ผู้วิจัยเห็นว่าระบบงบประมาณสองขาจะ
               ก่อให้เกิดผลดีต่อสิทธิของผู้เสียภาษีทั้งโดยตรงและโดยอ้อมดังนี้


                                                                      ๒๔๒
                       (๑) ผู้เสียภาษีย่อมมีสิทธิที่จะรับรู้ถึงงบประมาณรายรับ ที่มีความแน่นอนและมีความน่าเชื่อถือ
                                                                                                          ๒๔๓
               เนื่องจากรัฐบาลต้องเสนองบประมาณทั้งรายรับและรายจ่าย จึงจำต้องรับผิดชอบต่องบประมาณรายรับและ

               รายจ่ายและคำนึงถึงหลักวินัยการเงินการคลัง สิทธิในการรับรู้งบประมาณรายรับย่อมทำให้ผู้เสียภาษีอาจ

               วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของงบประมาณรายรับ หากงบประมาณรายรับดังกล่าวมีประสิทธิภาพและสมดุล

               กับงบประมาณรายจ่ายย่อมเป็นการส่งเสริมให้ผู้เสียภาษีมีความเต็มใจในการเสียภาษีมากยิ่งขึ้น

                       (๒) ผู้เสียภาษีย่อมถูกจำกัดสิทธิโดยรัฐสภาอย่างแท้จริง เนื่องจากในระบบงบประมาณสองขา เมื่อ

               กฎหมายงบประมาณผ่านการอนุมัติของรัฐสภาแล้ว การเปลี่ยนแปลงงบประมาณใดต้องได้รับความยินยอมจาก

                                                                                       ๒๔๕
                         ๒๔๔
               รัฐสภาก่อน  และหากรัฐบาลประสงค์จะเพิ่มรายจ่าย รัฐบาลพึงหารายได้มาทดแทน   รัฐบาลจึงไม่อาจแก้ไข
               เปลี่ยนแปลงรายรับและรายจ่ายได้ตามอำเภอใจ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าระบบงบประมาณสองขาย่อมเป็นมาตรการที่

               สามารถคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีได้มากยิ่งขึ้นเนื่องจากเป็นการเพิ่มอำนาจให้รัฐสภาในการควบคุมการจัดเก็บ

               ภาษีและการใช้ภาษี

                       (๓) รัฐสภาสามารถจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีโดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างงบประมาณรายรับและ

               รายจ่ายได้ทุกปีงบประมาณ ในการจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี นอกจากสิทธิของผู้เสียภาษีพึงถูกจำกัดโดยรัฐสภาแล้ว

               รัฐสภาพึงพิจารณาจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีโดยคำนึงถึงรายรับและรายจ่าย เพื่อให้การจัดเก็บภาษีและการใช้




               ๒๔๒  สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายงบประมาณของต่างประเทศ : ข้อคิดและประสบการณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและ

               ประเทศฝรั่งเศส, หน้า ๒๓๐.
               ๒๔๓  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒๕.

               ๒๔๔  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓๐.

               ๒๔๕  พิสิฐ ลี้อาธรรม, “การปฏิรูประบบการคลังและการงบประมาณภาครัฐเพื่อวินัยการคลัง,” JOURNAL OF ECONOMICS ๒๐,๑
               (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๘): ๑๑.
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205