Page 196 - kpiebook62008
P. 196
๑๖๕
กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี การตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีในระบบงบประมาณสองขามีความแตกต่างจากระบบ
งบประมาณขาเดียว เนื่องจากกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีในระบบงบประมาณสองขาเป็นแต่เพียงการกำหนด
โครงสร้างของการจัดเก็บภาษี ฝ่ายบริหารจึงไม่อาจใช้กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีไปจัดเก็บภาษีจากประชาชนได้ทันที
แต่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจจากกฎหมายงบประมาณ ด้วยเหตุดังกล่าวรัฐสภาจึงมีอำนาจทบทวนกฎหมายเพื่อ
จัดเก็บภาษีผ่านการพิจารณางบประมาณรายรับ ในการจัดเก็บภาษีในระบบงบประมาณสองขา จึงจำเป็นต้อง
๒๓๗
พิจารณากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีและกฎหมายงบประมาณไปพร้อมกัน
๓๔๖. ระบบงบประมาณของประเทศไทยในปัจจุบัน ระบบงบประมาณของประเทศไทยเป็นระบบแบบ
งบประมาณขาเดียว เนื่องจากรัฐสภาพิจารณางบประมาณเฉพาะแต่ด้านรายจ่าย ในขณะที่ด้านรายรับเป็นแต่เพียง
เอกสารประกอบ ส่วนระบบงประมาณตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ นั้น การ
พิจารณางบประมาณรายจ่ายของประเทศไทยปรากฏในมาตรา ๑๔๑ วรรคแรกแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งกำหนดให้งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ ในขณะที่มาตรา
๑๔๒ กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ต้องแสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติทั้งสองมาตราแล้วจะพบว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดให้มีการแสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้ประกอบการ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ แต่ด้วยชื่อของพระราชบัญญัติดังกล่าวที่
ยังคงใช้คำว่า “งบประมาณรายจ่าย” โดยที่มิได้กำหนดให้มีการพิจารณางบประมาณรายรับเหมือนที่ปรากฏตาม
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณเป็นประธาน
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ในกระบวนการพิจารณา คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบกับ
วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ โดยมีการพิจารณาแต่เพียงประมาณการรายได้
๒๓๘
งบประมาณเท่านั้น แหล่งที่มาและประมาณการรายได้จึงเป็นเพียงเอกสารประกอบร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ เท่านั้น ระบบงบประมาณของประเทศไทยจึงยังคงเป็น
ระบบงบประมาณแบบขาเดียวอยู่
๒๓๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒๓.
๒๓๘ มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒