Page 197 - kpiebook62008
P. 197
๑๖๖
๓๔๗. ปัญหาการใช้ระบบงบประมาณขาเดียวที่กระทบต่อสิทธิของผู้เสียภาษี เนื่องจากระบบงบประมาณของ
ประเทศไทยเป็นระบบงบประมาณขาเดียวซึ่งบังคับให้อำนาจรัฐสภาควบคุมตรวจสอบเฉพาะงบประมาณรายจ่าย
ในขณะที่การควบคุมตรวจสอบงบประมาณรายรับ รัฐสภามีอำนาจควบคุมตรวจสอบโดยอาศัยกระบวนการตรา
กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีซึ่งแยกต่างหากจากกระบวนการงบประมาณ รัฐบาลจึงมีความเสี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามไม่
ตามหลักวินัยการเงินการคลังซึ่งก่อให้เปิดผลกระทบต่อสิทธิของผู้เสียภาษีดังนี้
(๑) ปัญหาความแน่นอนและความน่าเชื่อถือของงบประมาณรายรับ ตามระบบงบประมาณของ
ประเทศไทยในปัจจุบัน ประมาณการรายได้เป็นเพียงเอกสารประกอบของพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
รัฐบาลไม่จำต้องรับผิดชอบต่อประมาณการรายได้ดังกล่าว รัฐบาลจึงอาจตั้งประมาณการรายได้ให้สูงหรือต่ำเกิน
ระดับที่เหมาะสม เพื่อเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายบริหาร ด้วยเหตุดังกล่าว รัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของผู้เสียภาษีจึงไม่อาจ
รับรู้ถึงงบประมาณรายรับที่แน่นอนและมีความน่าเชื่อถือในแต่ละปีและไม่อาจควบคุมตรวจสอบงบประมาณ
รายรับแทนผู้เสียภาษีได้
(๒) ปัญหาการควบคุมนโยบายหรือมาตรการจัดเก็บภาษี ในระบบงบประมาณขาเดียว รัฐสภาไม่อาจ
ควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บภาษีได้โดยผ่านกฎหมายงบประมาณ แต่รัฐสภาจำต้องควบคุมตรวจสอบโดยใช้การ
ควบคุมตรวจสอบการตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี ในการตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี รัฐสภามักให้อำนาจแก่
รัฐบาลในการลด หรือยกเว้นภาษีได้โดยการตรากฎหมายลำดับรอง รัฐบาลจึงมักใช้ช่องทางดังกล่าวในการหาเสียง
ทางการเมือง ดังตัวอย่างเช่น โครงการลดภาษีรถยนต์คันแรกในสมัยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นโยบายช๊อปช่วย
ชาติในสมัยพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เป็นต้น การลดหรือยกเว้นภาษีตามตัวอย่างดังกล่าวดังกล่าวย่อมทำให้
๒๓๙
รายได้ที่แท้จริงมีความแตกต่างจากประมาณการรายได้ในเอกสารประกอบงบประมาณ ทั้งยังแสดงให้เห็นถึง
การกำหนดนโยบายหรือมาตราการจัดเก็บภาษีโดยอำเภอใจของรัฐบาลซึ่งปราศจาการควบคุมตรวจสอบของ
รัฐสภา ในแง่ของสิทธิของผู้เสียภาษี โดยหลักแล้ว สิทธิของผู้เสียภาษีพึงถูกจำกัดสิทธิโดยรัฐสภา แต่รัฐบาลกลับ
เป็นผู้มีอำนาจจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีได้เอง การจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีย่อมไม่เป็นไปตามความมุ่งประสงค์อัน
แท้จริงของรัฐสภา นอกจากนี้ พระราชบัญญัติภาษีของประเทศไทยเป็นกฎหมายที่กำหนดทั้งโครงสร้างทางภาษี
และให้อำนาจในการจัดเก็บภาษีไว้ในฉบับเดียวกัน เมื่อรัฐสภาอนุมัติพระราชบัญญัติภาษีแล้ว รัฐบาลจึงสามารถใช้
กฎหมายดังกล่าวจัดเก็บภาษีได้อย่างถาวรจนกว่าจะมีการแก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายฉบับนั้น ดังนั้น รัฐสภาใน
ระบบงบประมาณขาเดียวไม่อาจทบทวนพระราชบัญญัติภาษีเพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่สถานการณ์และ
๒๓๙ พิสิฐ ลี้อาธรรม, “การปฏิรูประบบการคลังและการงบประมาณภาครัฐเพื่อวินัยการคลัง,” JOURNAL OF ECONOMICS ๒๐,๑
(มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๘): ๕-๖.