Page 193 - kpiebook62008
P. 193

๑๖๒

               กับการประเมินภาษี ผู้เสียภาษีสามารถโต้แย้งคัดค้านการประเมินโดยการอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการพิจารณา

               อุทธรณ์ ทั้งนี้ กระบวนการโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีภายในฝ่ายปกครองได้ถูกกำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ หมวด ๒

               ของประมวลรัษฎากร และระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวล

               รัษฎากร พ.ศ. ๒๕๔๖ อย่างไรก็ตาม หากผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยกับผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา

               อุทธรณ์ ผู้เสียภาษีอาจใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากร

               และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.๒๕๒๘ เมื่อพิจารณากระบวนการโต้แย้งคัดค้านแล้วจะพบว่า คณะกรรมการ
               พิจารณาอุทธรณ์เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการพิจารณากลั่นกรองความถูกต้องของการประเมินภาษีก่อนที่จะ

               มายังชั้นศาล หากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีความเหมาะสมแล้ว ย่อมส่งผลให้สิทธิของผู้เสียภาษีได้รับการ

               คุ้มครองมากยิ่งขึ้น




               ๓๓๙.  ปัญหาเกี่ยวกับองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร คณะกรรมการพิจารณา

               อุทธรณ์เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์โดยที่องค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าว
               จะขึ้นอยู่กับเขตท้องที่ที่มีการประเมินภาษี หากเป็นเขตกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

               ประกอบด้วยในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วย

               อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง สำหรับในเขต

               ต่างจังหวัด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน สรรพากรภาคหรือผู้แทน

               และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มี

               บุคลากรที่มีความรู้ภาษีเพียงท่านเดียวคือกรรมการจากกรมสรรพากร ในขณะที่กรรมการจากอัยการและ

               กระทรวงมหาดไทยอาจไม่มีความรู้ทางภาษี กรรมการจากกรมสรรพากรจึงเป็นกำลังสำคัญในคณะกรรมการ

               พิจารณาอุทธรณ์ จึงทำให้โอกาสในการเปลี่ยนแปลงการประเมินเป็นไปได้ยาก การที่กำหนดขั้นตอนให้ผู้เสียภาษี

               ต้องอุทธรณ์การประเมินก่อนที่จะฟ้องศาลโดยที่แทบไม่มีโอกาสที่การประเมินจะเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมเป็นแต่เพียง
               แบบพิธีและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อกระบวนการโต้แย้งคัดค้านการจัดเก็บภาษี





                              ๕.๓.๓.๒ แนวทางการกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์


               ๓๔๐.  คณะกรรมการทางปกครองภาษีอากรของสาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะกรรมการทางปกครองภาษีอากรเป็น

               องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ภาษีของสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมีองค์ประกอบสองส่วนหลักอันได้แก่ ตัวแทนผู้
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198