Page 189 - kpiebook62008
P. 189
๑๕๘
ทางปกครอง หากส่วนในที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้มีมาตรฐานสูงกว่าแล้วย่อมเป็นไปตามที่ประมวลรัษฎากร
๒๓๐
กำหนด ส่วนในประเด็นขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งให้เป็นไปตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
อย่างไรก็ตาม การอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรเป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงต้องด้วย
มาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ ซึ่งกำหนดให้ขอบเขตการพิจารณาของ
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามประมวลรัษฎากร ส่วนกระบวนการพิจารณาเป็นไปหมวด ๒ แห่ง
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อประมวลรัษฎากร
๓๓๒. ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร ด้วยเหตุที่ประมวลรัษฎากรมิได้
กำหนดระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่การอุทธรณ์ประเมินภาษีเป็นการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองต่อ
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ อยู่ภายใต้มาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.
๒๕๓๙ กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาทั้งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ
ราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ และประมวลรัษฎากร กล่าวคือ ต้องบังคับตามหมวด ๒ แห่งพระราชบัญญัติวิธี
ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อประมวลรัษฎากร ในประเด็นของระยะเวลาการ
พิจารณาอุทธรณ์นั้น เมื่อประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ไว้ จึงเกิดปัญหาขึ้นว่าต้องบังคับ
ใช้ตามมาตรา ๔๕ วรรคแรกและวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้
หรือไม่ เมื่อพิจารณาระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร
พ.ศ. ๒๕๔๖ กรมสรรพากรมิได้บังคับให้มีระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด
๓๓๓. ระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรเทียบกับกฎหมายภาษีอื่น แม้ประมวลรัษฎากรจะเปิด
โอกาสให้ผู้เสียภาษีที่ไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีสามารถโต้แย้งคัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
แต่ประมวลรัษฎากรกลับมิได้กำหนดระยะเวลาการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ จึงทำให้
ผู้เสียภาษีไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าเรื่องของตนจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ทั้งยังไม่อาจดำเนินเรื่องต่อไปยังศาลภาษีอากรได้
เนื่องจากยังไม่มีผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับระยะเวลา
พิจารณาอุทธรณ์ในกฎหมายภาษีฉบับอื่นจะพบว่ามีความแตกต่างจากประมวลรัษฎากรค่อนข้างมากดัง
๒๓๑
ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.๒๕๑๐ มีการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ที่ ๖๐ วัน
๒๓๐ มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙
๒๓๑ มาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.๒๕๑๐