Page 188 - kpiebook62008
P. 188

๑๕๗

               ปฏิบัติราชการที่สูงกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ย่อมต้อง

               ใช้บังคับตามกฎหมายเฉพาะนั้น การที่ประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดบทเฉพาะเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียภาษี จึง

               จำเป็นต้องนำมาตรฐานทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับ

               การนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้เป็นเรื่องที่ไม่สมควรเกิดขึ้นเนื่องจากประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายภาษีหลักของ

               ประเทศ จึงควรมีบทบัญญัติที่กำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีเป็นการเฉพาะเพื่อให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิที่ดีกว่าสิทธิขั้น

               พื้นฐานตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และยังก่อให้เกิดความซ้บซ้อนและความไม่
               แน่นอนในการใช้บังคับกฎหมาย ทั้งนี้ ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่พบในประมวลรัษฎากร แต่ในกฎหมาย

               ภาษีอีกหลายฉบับต่างมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน




               ๓๓๐.  ผลกระทบต่อผู้เสียภาษี ความซับซ้อนและความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีย่อม

               ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้เสียภาษีในหลายกรณีดังตัวอย่างเช่น ผู้เสียภาษีไม่ทราบว่าตนมีสิทธิอะไรบ้าง ผู้เสียภาษี

               ทราบถึงสิทธิของตนแต่ไม่ทราบวิธีการบังคับตามสิทธิ ผู้เสียภาษีทราบถึงสิทธิและวิธีการบังคับตามสิทธิช้าเกิน

               กำหนดทำให้ไม่อาจใช้สิทธิได้อีก เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้เสียภาษีโดยตรงและหาก

               ปล่อยให้ปัญหาในลักษณะดังกล่าวยังคงเช่นนี้ต่อไปย่อมกระทบกระเทือนต่อจิตสำนึกของผู้เสียภาษีในการยอม

               เสียสละเงินให้แก่รัฐ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีให้มีความชัดเจนแน่นอนมากยิ่งขึ้น





                                     (๒) บทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในระหว่างการโต้แย้งคัดค้าน

               ๓๓๑.  ความสัมพันธ์ระหว่างการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรกับการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ

               ราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ การประเมินภาษีเป็นคำสั่งทางปกครองประเภทหนึ่งจึงต้องอยู่ภายใต้

               พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการกำหนดกระบวนการ

               อุทธรณ์คำสั่งทางปกครองไว้ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของกระบวนการอุทธรณ์ ในขณะที่ประมวลรัษฎากรได้มีการ

               กำหนดกระบวนการอุทธรณ์ไว้ในส่วนที่ ๒ หมวด ๒ โดยที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับแบบของการอุทธรณ์

               หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นอุทธรณ์ การออกหมายเรียกเพื่อพิจารณาอุทธรณ์ การทุเลาการเสียภาษี เรื่องที่ต้องห้าม

               อุทธรณ์ และการแจ้งผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ จึงเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาว่ากระบวนการอุทธรณ์ในส่วนใดต้อง
               เป็นไปตามประมวลรัษฎากรหรือต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙

               พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับคำสั่ง
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193