Page 183 - kpiebook62008
P. 183

๑๕๒

               ๕.๓ การเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีระหว่างกระบวนการจัดเก็บภาษี: การจัดเก็บภาษี

               ภายใต้ความโปร่งใส แน่นอน และเป็นธรรม


               ๓๑๘.  การสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีจำเป็นต้องสร้างกระบวนการจัดเก็บภาษีที่

               โปร่งใส แน่นอน และเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการจะสร้าง

               ความสมดุลดังกล่าวได้จำต้องพิจารณาปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างความเข้าใจระหว่างผู้เสียภาษีกับหน่วยจัดเก็บ

               ภาษี (๕.๓.๑) ขั้นตอนระหว่างการประเมินภาษี (๕.๓.๒) และกระบวนการโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษี (๕.๓.๓)
               เมื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วจำเป็นต้องวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมโดยการพิจารณา

               แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับแนวทางของต่างประเทศ





                       ๕.๓.๑ การใช้หนังสือตอบข้อหารือเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการเสียภาษี


               ๓๑๙.  การทำความเข้าใจในกระบวนการและขั้นตอนของการจัดเก็บภาษีเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้เสียภาษี
               เนื่องจากเป็นการประกันสิทธิของผู้เสียภาษีในเบื้องต้นว่าตนต้องกระทำอะไรเพื่อให้เกิดสิทธิประโยชน์แก่ตน และ

               ไม่กระทำอะไรเพื่อไม่ให้เกิดโทษแก่ตน ในกระบวนการจัดเก็บภาษี ผู้เสียภาษีจำเป็นต้องศึกษากฎหมาย กฎหมาย

               ลำดับรอง และแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานจัดเก็บหลายฉบับ อีกทั้งรายละเอียดของกฎหมาย กฎหมายลำดับรอง

               และแนวทางปฏิบัติยังมีความยากที่จะทำความเข้าใจสำหรับผู้เสียภาษี จึงเกิดการเสียภาษีผิดพลาดโดยมิได้จงใจ

               และอาจมิได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่ ผู้เสียภาษีจึงพึงมีสิทธิรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะมีการ

               ประเมินภาษีเพื่อให้เกิดการวางแผนภาษีได้โดยชอบด้วยกฎหมาย วิธีการใช้หนังสือตอบข้อหารือในปัจจุบันยังคงไม่

               ผูกพันกรมสรรพากรจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิของผู้เสียภาษี (๕.๓.๑.๑) จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์หาระบบการ
               ใช้หนังสือตอบข้อหารือที่เหมาะสม (๕.๓.๑.๒)





                              ๕.๓.๑.๑ สภาพปัญหาเกี่ยวกับการใช้หนังสือตอบข้อหารือ


               ๓๒๐.  วิธีการทำความเข้าใจแนวทางการเสียภาษี ในปัจจุบันกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีทำความเข้าใจในสอง

               รูปแบบอันได้แก่ การประกาศคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. ซึ่งมิได้มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายแต่เป็นแนวทางปฏิบัติ

               ของเจ้าพนักงานสรรพากรในการปฏิบัติราชการ และวิธีการตอบหนังสือข้อหารือ วิธีการตอบหนังสือข้อหารือ
               วิธีการที่สามารถทำความเข้าใจแก่ผู้เสียภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเนื่องจากผู้เสียภาษีสามารถให้

               ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและกรมสรรพากรสามารถตอบได้เป็นการเฉพาะกรณี อย่างไรก็ตาม การตอบ
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188