Page 182 - kpiebook62008
P. 182
๑๕๑
พิจารณาถึงความเป็นธรรม ความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งการพัฒนาและสนับสนุนเสถียรภาพและ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย”
บทบัญญัติข้างต้นแสดงให้เห็นถึงหลักความยินยอมทางภาษีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักความชอบด้วย
กฎหมายภาษีโดยที่การใช้คำว่า “การจัดเก็บรายได้แผ่นดินที่เป็นภาษีอากร” นั้นมีความครอบคลุมโครงสร้างทาง
ภาษีที่สำคัญทั้งฐานภาษี อัตราภาษี และวิธีการจัดเก็บภาษีซึ่งปรากฏตามรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสแล้ว
อีกทั้งยังมีการกำหนดหลักการที่จำต้องนำมาพิจารณาประกอบการตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีโดยเฉพาะ
หลักการเกี่ยวกับความเป็นธรรม ความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติ การกำหนดให้ต้องพิจารณาหลักการ
ดังกล่าวย่อมทำให้หลักความเสมอภาคทางภาษีสามารถปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
๓๑๗. อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษียังมีความจำเป็นต้องให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารในการกำหนดรายละเอียดต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ฝ่ายนิติบัญญัติพึงกำหนดกรอบให้แก่ฝ่ายบริหารในการกำหนดรายละเอียดของกฎหมายเพื่อไม่ให้
ฝ่ายบริหารใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ในประเด็นนี้รองศาสตราจารย์ ดร.สุปรียา แก้วละเอียดได้ให้
ความเห็นไว้ว่า “ในพระราชบัญญัติที่มีสาระเป็นการกำหนดฐานภาษี อัตราภาษี และวิธีการคำนวณภาษีนั้น ควรมี
บทบัญญัติที่กำหนดให้ฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการบางอย่างได้เอง แต่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติ เช่น
ในเรื่องของการกำหนดอัตราภาษีในพระราชบัญญัตินั้นอาจจะกำหนดเพดานสำหรับการกำหนอัตราภาษีไว้โดยใน
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีบทบัญญัติที่กำหนดให้ฝ่ายบริหารสามารถกำหนดอัตราภาษีได้โดยมี
๒๒๙
เงื่อนไขว่าอัตราภาษีนั้นจะต้องไม่เกินกว่าที่เพดานตามที่พระราชบัญญัติกำหนด...” ผู้วิจัยเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อ
ความคิดเห็นดังกล่าวเนื่องจากการกำหนดกรอบในลักษณะดังกล่าวให้แก่ฝ่ายบริหารเป็นไปตามหลักความชอบด้วย
กฎหมายภาษีและยังคงความยืดหยุ่นในการตรากฎของฝ่ายบริหารอยู่ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเห็นว่าในการจะทำให้
เกิดบทบัญญัติที่เหมาะสมดังกล่าวได้จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์การมอบอำนาจในการตรากฎแก่ฝ่ายบริหารด้วย
มิฉะนั้นฝ่ายนิติบัญญัติจะยังคงมอบอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหารและเกิดปัญหาความไม่ชอบด้วยหลักความชอบด้วย
กฎหมายภาษีอีกเช่นเคย ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมอีกวรรคหนึ่งว่า “การบัญญัติ
กฎหมายเพื่อให้อำนาจในการตรากฎ ให้กระทำเท่าที่จำเป็นและกำหนดเงื่อนไขการตรากฎไว้อย่างชัดเจน”
๒๒๙ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของภาษีโดยองค์กรตุลาการในประเทศไทย.
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ จัดทำโดยสุปรียา แก้วละเอียด. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์., ๒๕๕๘, หน้า
๑๐๒-๑๐๓.