Page 177 - kpiebook62008
P. 177

๑๔๖

               Council: IRSAC)” สภาที่ปรึกษาทางภาษีอากรดังกล่าวมีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาการบริหารภาษีที่

               เกี่ยวข้อง พิจารณาและทบทวนนโยบายทางภาษีที่มีอยู่ในขณะนั้น รวมถึงอาจเสนอนโยบายเกี่ยวกับปัญหาการ

               บริหารภาษีที่พึงมี ทั้งยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานโดยจะเสนอข้อสังเกตเชิง

               สร้างสรรค์เกี่ยวกับนโยบาย แนวทาง และขั้นตอนต่าง ๆ ของกรมสรรพากรสหรัฐอเมริกา สภาที่ปรึกษาทางภาษี

               อากรของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นต้นแบบที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทยในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของ

               นโยบายภาษีและเสริมสร้างมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษี



               ๓๐๕.  แนวทางการกำหนดองค์กรที่ปรึกษานโยบายภาษี การกำหนดนโยบายและมาตรการภาษีของรัฐควรมี

               องค์กรกลางที่มีหน้าที่เสนอนโยบายและมาตรการภาษี รวมทั้งกำกับดูแลนโยบายและมาตรการเหล่านั้นให้เป็นไป

               ตามวัตถุประสงค์ของนโยบายและมาตรการดังกล่าวอย่างแท้จริง องค์กรดังกล่าวพึงอยู่ในรูปของคณะกรรมการซึ่ง

               ประกอบไปด้วยผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญทางภาษีทั้งในด้าน

               กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และบัญชี เป็นต้น ในการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้ จำเป็นต้องเป็นโอกาสให้
               ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้เสียภาษีมีส่วนในการให้ความเห็นต่อนโยบายและมาตรการภาษีต่าง ๆ คณะกรรมการ

               ชุดนี้เปรียบเสมือนเป็นที่ปรึกษาทางภาษีให้แก่รัฐบาลเพื่อให้นโยบายและมาตรการทางภาษีเป็นไปอย่างมีเอกภาพ

               มีความแน่นอน สอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี ชอบด้วยหลักความเสมอภาค และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การ

               จำกัดสิทธิในทรัพย์สิน การจัดตั้งคณะกรรมการนี้จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความสมดุลให้แก่หน้าที่และ

               สิทธิของผู้เสียภาษี ทั้งนี้ การกำหนดคณะกรรมการชุดนี้ยังสอดคล้องกับการกำหนดนโยบายและมาตรการทางภาษี

               ของสหรัฐอเมริกาและยังปรากฏตามแผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ผู้วิจัยจึงเห็นควรมีการจัดทำพระราชบัญญัติ

               ขึ้นเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้น




               ๕.๒ การกำหนดหลักเกณฑ์การตรากฎหมายภาษีไว้เป็นการเฉพาะ: การสร้างหลักประกันสิทธิของผู้เสียภาษีใน

               การตรากฎหมายภาษี


               ๓๐๖.  การสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีจำเป็นต้องเริ่มต้นจากรากฐานของกฎหมายที่

               จำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี จึงจำเป็นต้องกำหนดกรอบการจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีเพื่อให้เกิดหลักประกันว่า

               กฎหมายที่จำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีจะต้องคำนึงหลักการการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีด้วย จากการศึกษาพบว่า

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มิได้กำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะดังเช่นกรณี
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182