Page 181 - kpiebook62008
P. 181

๑๕๐

               ๓๑๔.  ตัวอย่างการกำหนดหลักเกณฑ์การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินเป็นการเฉพาะของรัฐธรรมนูญของประเทศ

               ไทย หากพิจารณาบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

               พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้มีการกำหนดการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินไว้เป็นการเฉพาะด้วยนั่นคือ การจำกัดสิทธิใน

               ทรัพย์สินโดยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีจึงอาจถูกกำหนดไว้เป็นการเฉพาะได้เช่นกัน

               โดยการกำหนดเพิ่มไว้ในมาตรา ๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หรืออาจกำหนด

               เป็นบทบัญญัติใหม่ก็ได้



               ๓๑๕.  ข้อดีของการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในรัฐธรรมนูญ หลักเกณฑ์การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสีย

               ภาษีเป็นการรับรองหลักความยินยอมทางภาษีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี จึงจำเป็นต้อง

               รักษาหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้อย่างมั่นคง การกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในรัฐธรรมนูญย่อมทำให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลง

               หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นไปได้ยาก อีกทั้งการตรากฎหมายย่อมต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่อาจขัดหรือแย้ง

               ได้ การกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในรัฐธรรมนูญย่อมมีความมั่นคงมากกว่าการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวินัยการเงิน
               การคลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ เนื่องจากแม้จะเป็นรายละเอียดหน้าที่ของรัฐ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวอาจถูกแก้ไข

               เปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ และอาจมีการตราพระราชบัญญัติอื่นกำหนดหลักเกณฑ์อื่นไว้เป็นการเฉพาะ

               เพื่อไม่บังคับตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ความไม่มั่นคงดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบให้สิทธิของผู้เสียภาษีไม่มั่นคงด้วย

               เช่นกัน นอกจากเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่หลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วยังเป็นการให้ความสำคัญแก่สิทธิของผู้เสีย

               ภาษีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการกำหนดให้การเสียภาษีเป็นหน้าของปวงชนชาวไทย




                              ๕.๒.๒.๒ เนื้อหาสาระของหลักเกณฑ์


               ๓๑๖.  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกอบพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง

               ของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ ที่กำหนดหลักเกณฑ์การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้โดยให้มีสถานะเป็น

               รายละเอียดของหน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยการเงินการคลัง ผู้วิจัยจึงเห็นควรนำเนื้อหาสาระของบทบัญญัติ

               ดังกล่าวมาพิจารณาความเหมาะสมในการนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ มาตรา ๓๒ วรรคแรกแห่ง

               พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๑ กำหนดไว้ว่า

                       “การจัดเก็บรายได้แผ่นดินที่เป็นภาษีอากรจะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และการยกเว้น

               หรือการลดภาษีอากรใด จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้อำนาจจัดเก็บภาษีอากรนั้น ทั้งนี้ ให้
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186