Page 179 - kpiebook62008
P. 179

๑๔๘

               ๓๐๙.  หลักเกณฑ์การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีในฐานะสิทธิในทรัพย์สิน เมื่อการจำกัดสิทธิ

               ของผู้เสียภาษีเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์ การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินจำเป็นต้องกระทำโดยการตรากฎหมายระดับ

               พระราชบัญญัติ ต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ต้องไม่เพิ่มภาระหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและ

               จะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ ต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน

               และการจำกัดสิทธิต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป นอกจากนี้ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑

               ได้กำหนดไว้อีกว่าให้การจัดเก็บรายได้แผ่นดินที่เป็นภาษีอากรจะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และ
               การยกเว้นหรือการลดภาษีอากรใดจะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้อำนาจจัดเก็บภาษีอากรนั้น

               โดยที่ต้องพิจารณาถึงความเป็นธรรม ความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งการพัฒนาและสนับสนุน

               เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม





               ๓๑๐.  ผลกระทบจากการใช้หลักเกณฑ์การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินต่อการจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี ในปัจจุบัน

               ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ การจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีอยู่ภายใต้หลักการจำกัด

               สิทธิทั่วไปดังปรากฏตามมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ การจำกัดสิทธิ

               ของผู้เสียภาษีจึงจำเป็นต้องกระทำโดยการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติ การจำกัดสิทธิดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อ

               หลักนิติธรรม ต้องไม่เพิ่มภาระหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็น
               มนุษย์ของบุคคลมิได้ ทั้งนี้ การจำกัดสิทธิต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน และการ

               จำกัดสิทธิต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป ดังนั้นสิทธิของผู้เสียภาษีย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็

               ตาม การตรากฎหมายภาษีของรัฐสภามักให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารในการแก้ไข และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางภาษี

               ที่สำคัญจนทำให้ฝ่ายบริหารสามารถกำหนดเนื้อหาของกฎหมายภาษีได้เอง การที่ฝ่ายบริหารอาจตรากฎหมายภาษี

               ได้เองในลักษณะดังกล่าวย่อมกระทบต่อสิทธิของผู้เสียภาษีโดยตรงเนื่องจากฝ่ายบริหารอาจลิดรอนสิทธิของผู้เสีย

               ภาษีโดยพลการ หรือกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างไม่เป็นธรรมโดยฝ่ายบริหารอาจอ้างได้ว่าได้รับความ

               ยินยอมจากรัฐสภาแล้ว ดังตัวอย่างเช่น การตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดหรือยกเว้นภาษีตามมาตรา ๓ แห่ง
               ประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าการตรากฎหมายลักษณะดังกล่าวเท่ากับเป็นการตรากฎหมายที่

               ไม่ได้ผ่านความยินยอมจากผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งไม่ชอบด้วยหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184